วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

ສະພາວະຂອງນິບພານຈາກຫລັກຖານໃນພະໄຕປິດົກ

 "ນິບ­ພານ" ເປັນ­ຄຳ­ທີ່­ໃຊ້­ກັນ­ໃນ­ປັດຊະຍາ­ຫລາຍ­ລະບົບ­ໃນ­ອິນ­ເດຍ ໂດຍ­ໃຊ້­ໃນ­ຄວາມຫມາຍ­ຂອງ­ຄວາມ­ຫລຸດ­ພົ້ນ ແຕ່­ການ­ອະທິບາຍ­ກ່ຽວກັບ­ສະພາ­ວະ­ຂອງ­ນິບ­ພານ­ນັ້ນ­ແຕກ­ຕ່າງ­ກັນ­ອອກ­ໄປ ໃນ­ປັດຊະຍາ­ອຸບ­ນິ­ສັດ­ເຊື່ອ­ວ່າ ນິບ­ພານ­ຫລື­ໂມກ­ສະ ຄື­ການ­ທີ່­ອາດ­ມັນ­ຍ່ອຍ­ຫລື­ຊີ­ວາດ­ມັນ­ເຂົ້າ­ລວມ­ເປັນ­ເອກ­ພາບ­ກັບ­ພອນ­ໝັນ ແຕ່­ໃນ­ພະ­ພຸ­ທະ­ສາດສະຫນາ­ອະທິບາຍ­ວ່າ ນິບ­ພານ­ຄື­ການ­ຫລຸດ­ພົ້ນ­ຈາ­ກອະວິດ­ຊາ ຕັນ­ຫາ ຊຶ່ງ­ສະແດງ­ອອກ­ໃນ­ຮູບ­ຂອງ­ໂລ­ພະ ໂທ­ສະ ແລະ­ໂມ­ຫະ ບໍ່ໄດ້­ໝາຍ­ຄວາມ­ວ່າ­ເປັນ­ການ­ຫລຸດ­ພົ້ນ­ຂອງ­ອັດ­ຕາ­ຫລື­ຕົວ­ຕົນ­ໃນ­ໂລກ­ນີ້ ໄປ­ສູ່­ສະພາ­ວະ­ຂອງ­ນິບ­ພານ­ເຊັ່ນ­ດຽວ­ກັບ­ຄຳ­ສອນ­ອຸປະ­ນິ­ສັດ ແຕ່­ໝາຍ­ເຖິງ­ຄວາມ­ດັບ­ສະນິດ­ແຫ່ງ­ຄວາມ­ເລົ່າ­ຮ້ອນ­ແລະ­ເຄື່ອງ­ຜູກ­ພັນ­ຮ້ອຍ­ລັດ­ທັງປວງ ຊຶ່ງ­ຮຽກວ່າ­ເປັນ­ຄວາມ­ທຸກ

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

ລັກສະນະມະຫາບຸລຸດ 32 ປະການ

ພະ­ຜູ້­ມີ­ພະ­ພາກ­ໄດ້­ຕັດ­ພະ­ພຸ­ທົດ­ພົດນ໌­ນີ້­ວ່າ
ເບິ່ງ­ກອນ­ພິກ­ສຸ­ທັງ­ຫລາຍ ພະ­ມະຫາ­ບຸ­ລຸດ­ຜູ້­ສົມບູນ­ດ້ວຍ­ມະຫາ­ປຸ­ລິດ­ລັກສະນະ ໓໒ ປະ­ການ­ເຫລົ່າ­ນີ້ ຍ່ອມ­ມີຄະ­ຕິ­ເປັນ­ສອງ­ເທົ່າ­ນັ້ນ ບໍ່­ເປັນ­ຢ່າງ­ອື່ນ ຄື ຖ້າ­ຄອງ­ເຮືອນ ຈະ­ໄດ້­ເປັນ­ພະ­ເຈົ້າ­ຈັກ­ລະ­ພັ­ດຜູ້­ຊົງ­ທຳ ເປັນ­ພະ­ລາ­ຊາ­ໂດຍ­ທຳ ເປັນ­ໃຫຍ່­ໃນ­ແຜ່ນດິນ­ມີ­ມະຫາ­ທະເລ ໔ ເປັນ­ຂອບ­ເຂດ ຊົງ­ຊະນະ­ແລ້ວ ມີ­ລາດ­ອານາຈັກ­ຫມັ້ນຄົງ ສົມບູນ­ດ້ວຍ­ແກ້ວ ໗ ປະ­ການ ຄື ຈັກ­ລະ­ແກ້ວ ຊ້າງ ແກ້ວ ມ້າ­ແກ້ວ ແກ້­ວມະ­ນີ ນາງ­ແກ້ວ ຄະ­ລື­ຫະບະ­ດີ­ແກ້ວ ປິ­ລິນາ­ຍົກ­ແກ້ວ­ເປັນ­ທີ່ ໗ ພະ­ລາດຊະບຸດ­ຂອງ­ພະອົງ­ມີ­ກວ່າ­ພັນ ລ້ວນ­ກ້າ­ຫານ ມີ­ຮູບ­ຊົງ­ສົມ­ເປັນ­ວີລະກະສັດ ສາມາດ­ຍ່ຳ­ຍີ­ເສ­ນາ­ຂອງ­ຂ້າ­ສຶກ­ໄດ້ ພະອົງ­ຊົງ­ຊຳ­ນະ­ໂດຍ­ທຳ ໂດຍ­ສະເໝີ ມິ­ຕ້ອງ­ໃຊ້­ສັດ­ຕາ ມິ­ຕ້ອງ­ໃຊ້­ອາດ­ຍາ ບໍ່ໄດ້­ມີ­ເສ­ນີຍົດ ຄອບຄອງ­ແຜ່ນດິນ ມີ­ສາ­ຄົນ­ເປັນ­ຂອບ­ເຂດ ບໍ່ໄດ້­ມີ­ເສົາ­ເຂື່ອນ ບໍ່ໄດ້­ມີ­ນິມິດ ບໍ່­ມີ­ສ້ຽນ­ໜາມ ສຳ­ເລັດ ແພ່­ຫລາຍ ມີ­ຄວາມ­ເກດ­ມ ສຳ­ລານ ຖ້າ­ສະເດັດ­ອອກ­ຜະ­ໜວດ­ເປັນ­ບັບ­ຊິດ ຈະ­ໄດ້­ເປັນ­ພະ­ອໍລະ­ຫັນ­ຕະ­ສຳ­ມາ­ສຳ­ພຸ­ດ­ທະເຈົ້າ ມີ­ຫລັງ­ຄາ ຄື ກິ­ເລດ­ອັນ­ເປີດ­ແລ້ວ­ໃນ­ໂລກ
ເບິ່ງ­ກອນ­ພິກ­ສຸ­ທັງ­ຫລາຍ ມະຫາ­ປຸ­ລິດ­ລັກສະນະ ໓໒ ປະ­ການ­ນັ້ນ ເປັນ­ເຫດ-ໃດ ຊຶ່ງ­ພະ­ມະຫາ­ບຸ­ລຸດ­ປະກອບ­ແລ້ວ­ຍ່ອມ­ມີຄະ­ຕິ­ເປັນ­ສອງ­ເທົ່າ­ນັ້ນ ບໍ່­ເປັນ­ຢ່າງ­ອື່ນ ຄື ຖ້າ­ຄອງ­ເຮືອນ­ຈະ­ໄດ້­ເປັນ­ພະ­ເຈົ້າ­ຈັກ­ລະ­ພັ­ດ­ແລະ ອື່ນ  ໆ ອະ­ໜຶ່ງ ຖ້າ­ພະ­ມະຫາ­ບຸ­ລຸດ­ນັ້ນ ສະເດັດ­ອອກ­ຜະ­ໜວດ­ເປັນ­ບັບ­ຊິດ ຈະ­ໄດ້­ເປັນ­ພະ­­ອໍລະ­ຫັນ­ຕະ­ສຳ­ມາ­ສຳ­ພຸ­ດ­ທະເຈົ້າ ມີ­ຫລັງ­ຄາ­ຄື­ກິ­ເລດ­ອັນ­ເປີດ­ແລ້ວ­ໃນ­ໂລກ
ເບິ່ງ­ກອນ­ພິກ­ສຸ­ທັງ­ຫລາຍ ພະ­ມະຫາ­ບຸ­ລຸດ­ໃນ­ໂລກ­ນີ້
໑. ມີ­ພະ­ບາດ­ປະ­ດິດ­ຖານ­ເປັນ­ອັນ­ດີ ພິກ­ສຸ­ທັງ­ຫລາຍ ການ­ທີ່­ພະ­ມະຫາ­ບຸ­ລຸດ­ມີ­ພະ­ບາດ­ປະ­ດິດ­ຖານ­ເປັນ­ອັນ­ດີ ນີ້­ເປັນ­ມະຫາ­ປຸ­ລິດ­ລັກສະນະ­ຂອງ­ມະຫາ­ບຸ­ລຸດ 
໒. ນ ພື້ນ­ພາຍໃຕ້­ຝ່າ­ພະ­ບາດ ໒ ຂອງ­ພະ­ມະຫາ­ບຸ­ລຸດ ມີ­ຈັກ­ລະ­ເກີດ­ຂຶ້ນ ມີ­ຊີ່­ກຳ­ຂ້າງ­ລະ­ພັນ ມີກົງ ມີ­ດຸມ ບໍລິບູນ­ດ້ວຍ­ອາການ­ທັງປວງ ພິກ­ສຸ­ທັງ­ຫລາຍ ແມ່ນ­ການ­ທີ່­ພື້ນ­ພາຍໃຕ້­ຝ່າ­ພະ­ບາດ­ທັງ ໒ ຂອງ­ພະ­ມະຫາ­ບຸ­ລຸດ ມີ­ຈັກ­ລະ­ເກີດ­ຂຶ້ນ ມີ­ຊີ່­ກຳ­ຂ້າງ­ລະ­ພັນ ມີກົ­ງ ມີ­ດຸມ ບໍລິບູນ­ດ້ວຍ­ອາການ­ທັງປວງ ນີ້­ກໍ­ມະຫາ­ປຸ­ລິດ­ລັກສະນະ­ຂອງ­ພະ­ມະຫາ­ບຸ­ລຸດ 
໓. ມີ­ສົ້ນ­ພະ­ບາດ­ຍາວ 
໔. ມີ­ພະ­ອົງ­ຄຸ­ລີ­ຍາວ (ນິ້ວ­ມື)໕. ມີ­ຝ່າ­ພະ­ຫັດຖ໌­ແລະ­ຝ່າ­ພະ­ບາດ­ອ່ອນ­ນຸ່ມ 
໖. ມີ­ຝ່າ­ພະ­ຫັດຖ໌­ແລະ­ຝ່າ­ພະ­ບາດ­ມີ­ລາຍ­ດຸດ­ຕາ­ຂ່າຍ­ 
໗. ມີ­ພະ­ບາດ­ເໝືອນ­ສັງຂ໌­ຄວ່ຳ­ 
໘. ມີ­ພະ­ຊົງຄ໌­ລີ­ລຽວ­ດຸດ­ແຂ້ງ­ເນື້ອ­ຊາຍ 
໙. ສະເດັດ­ສະຖິດ­ຍືນ­ຢູ່­ບໍ່ໄດ້­ນ້ອມ­ລົງ ເອົາ­ຝ່າ­ພະ­ຫັດຖ໌­ທັງ­ສອງ­ລູບ­ຄຳ­ໄດ້­ເຖິງ­ພະ­ຊາ­ນຸ­ທັງ­ສອງ­ 
໑໐. ມີ­ພະ­ຄຸຍ­ຫະ­ເລ້ນ­ຢູ່ໃນ­ຝັກ 
໑໑. ມີ­ພະ­ສະ­ຫວີ­ວັນນະ­ດຸດ­ວັນນະ­ແຫ່ງ­ທອງ­ຄຳ ຄື ມີ­ພະ­ຕະ­ຈະ ປະ­ດຸດ­ຫຸ້ມ­ດ້ວຍ­ທອງ 
໑໒. ມີ­ພະ­ສະ­ຫວີ­ລະອຽດ ເພາະ­ພະ­ສະ­ຫວີ­ລະອຽດ ທຸ­ລີ­ລະ­ອອງ­ຈຶ່ງ­ມິ­ຕິດ­ຢູ່ໃນ­ພະ­ກາຍ­ໄດ້­ 
໑໓. ມີ­ພະ­ໂລມ­ຊາດ­ເສັ້ນ­ໜຶ່ງ­ ໆ ເກີດ­ໃນ­ຂຸມ­ລະ­ເສັ້ນ­ ໆ­ 
໑໔. ມີ­ພະ­ໂລມ­ຊາດ­ມີ­ປາຍ­ຂຶ້ນ­ຊ້ອຍ­ຂຶ້ນ­ຂ້າງ­ເທິງ ມີ­ສີ­ຂຽວ ມີ­ສີ­ເໝືອນ­ດອກ­ອັນ­ຊັນ ຂົດ­ເປັນ­ກຸນ­ທົນ­ທັກ­ສິ­ນາ­ວັດ 
໑໕. ມີ­ພະ­ກາຍ­ກົງ­ເໝືອນ­ກາຍ­ພົນ­ໝ 
໑໖. ມີ­ພະ­ມັງ­ສະ­ເຕັມ­ໃນ­ທີ່ ໗ ສະຖານ­ 
໑໗. ມີ­ເຄິ່ງ­ພະ­ກາຍ­ທ່ອນ­ເທິງ­ເໝືອນ­ເຄິ່ງ­ກາຍ­ທ່ອນ­ໜ້າ­ຂອງ­ສີ­ຫະ 
໑໘. ມີ­ລະຫວ່າງ­ພະ­ອັງ­ສະ­ເຕັມ 
໑໙. ມີ­ປິ­ມົນ­ທົນ­ດຸດ­ໄມ້­ນິ­ໂຄດ ວາ­ຂອງ­ພະອົງ­ເທົ່າ­ກັບ­ພະ­ກາຍ­ຂອງ­ພະອົງ ພະ­ກາຍ­ຂອງ­ພະອົງ­ກໍ­ເທົ່າ­ກັບ­ວາ­ຂອງ­ພະອົງ­ 
໒໐. ມີ­ລຳ­ພະ­ສໍ­ກົມ­ເທົ່າ­ກັນ­ 
໒໑. ມີ­ປາຍ­ເສັ້ນ­ປະສາດ­ສຳລັບ­ນຳ­ລົດ­ອາຫານ­ອັນ­ດີ 
໒໒. ມີ­ພະ­ໜຸ­ດຸດ­ຄາງ­ລາດ­ສີຫ໌­ 
໒໓. ມີ­ພະ­ທົນຕ໌ ໔໐ ຊີ່­ 
໒໔. ມີ­ພະ­ທົນຕ໌­ລຽບ­ສະເໝີ­ກັນ­ 
໒໕. ມີ­ພະ­ທົນຕ໌­ບໍ່­ຫ່າງ 
໒໖. ມີ­ພະ­ທາ­ຖະ­ຂາວ­ງາມ 
໒໗. ມີ­ພະ­ຊິວ­ຫາ­ໃຫຍ່­ 
໒໘. ມີ­ພະ­ສຸນ­ສຽງ­ດຸດ­ສຽງ­ແຫ່ງ­ພົນ­ຫົມ ຕັດ­ມີ­ສຳ­ນຽງ­ດັ່ງ­ນົກ­ກອນ­ວິກ 
໒໙. ມີ­ພະ­ເນ­ຕົນ­ດຳ­ສະນິດ [ດຳ­ຄົມ] ຯ
໓໐. ມີ­ດວງ­ພະ­ເນ­ຕົນ­ດຸດ­ຕາ­ແຫ່ງ­ໂຄ 
໓໑. ມີ­ພະ­ອຸນ­ນາ­ໂລມ­ບັງ­ເກີດ ນ ລະຫວ່າງ­ພະ­ຂະ­ໜົງ ມີ­ສີ­ຂາວ­ອ່ອນ ຄວນ­ປຽບ­ດ້ວຍ­ນຸ່ນ 
໓໒. ມີ­ພະ­ສຽນ­ດຸດ­ປະ­ດັບ­ດ້ວຍ­ກອບ­ພະ­ພັກ­ຕ໌ະ­ 

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

+++ລະຫັດ­ລັບ DNA ຜູ້­ພິ­ຊິດ­ທິດສະດີ­ວິວັດທະນາ-ການ+++

ຂະນະ­ທີ່­ນັກ­ວິທະຍາ­ສາດ­ເຂົ້າໄປ­ສຳ­ລວດ­ຈັກກະວານ­ຈິ໋ວ­ພາຍ­ໃນ­ເຊນສ໌ ພວກເຂົາ­ໄດ້­ພົບ­ກັບ­ກົນ­ໄກ­ລະບົບ­ຂໍ້­ມູນ­ທີ່­ສະ­ຫລັບ­ຊັບ­ຊ້ອນ­ຊ່ອນ­ເງື່ອນ­ຍິ່ງ­ກວ່າ­ສິ່ງ­ປະດິດ­ທຸກ­ປະ­ເພດ­ທຶ່­ມະນຸດ­ເຄີຍ­ສ້າງ­ຂຶ້ນ­ມາ ນີ້­ມີ­ຜົນ­ຫຍັງ­ຕໍ່­ທິດສະດີ­ວິວັດທະນາ-ການ?

ຄວາມ­ສຳ­ເລັດ 2 ປະ­ການ­ທີ່­ຍິ່ງ­ໃຫຍ່­ຂອງ­ມະນຸດ­ໃນ­ປີ 1953

ປະ­ການ­ຳທອິດ­ຄື­ການ­ພິ­ຊິດ­ຍອດ­ພວກເຂົາ ເອ­ເວີລ໌­ເລດຕ໌ ຍອດ­ພວກເຂົາ­ທີ່­ສູງ­ທີ່ສຸດ­ໃນ­ໂລກ ໂດຍ ເຊີລ໌ ເອດ­ມຸນດ໌ ຮິນ­ລາ­ລີ່ ແລະ­ຜູ້­ນຳ­ທາງ ນາຍ ເທນ­ຊິງ ນອລ໌­ເກ ເປັນ­ໄຊ­ຊະນະ­ຂອງ­ນັກ­ໄຕ່­ພວກເຂົາ ນັບ­ຕັ້ງ­ແຕ່­ນັ້ນ­ເປັນ­ຕົ້ນ­ມາ, ມີ­ນັກ­ໄຕ່­ພວກເຂົາ­ຈຳນວນ­ນັບ­ພັນ­ທີ່­ເຮັດ­ຕາມ ແລະ­ມີ­ຜູ້­ທີ່­ສາມາດ­ພິ­ຊິດ­ຍອດ­ພວກເຂົາ­ໄດ້­ອີກ­ນັບ­ຮ້ອຍ­ຄົນ

ຄວາມ­ສຳ­ເລັດ­ປະ­ການ­ທີ່­ສອງ­ໃນ­ປີ 1953 ຄື­ການ­ທີ່ ເຈມສ໌ ວັດ­ສັນ ແລະ ຟະ­ລານ­ຊິດ ຄິກ ໄດ້­ຄົ້ນ­ພົບ­ໂຄງ­ສ້າງ­ພັນ­ທຸ­ກຳ­ທີ່­ຝັງ­ຢູ່ໃນ­ແກ່ນນ້ອຍ­ຂອງ­ເຊນສ໌­ມະນຸດ ແລະ­ຮຽກ­ສານ­ພັນ­ທຸ­ກຳ­ນັ້ນ­ວ່າ DNA ຫຍໍ້­ມາ­ຈາກ Deoxyribonucleicacid (ດີ­ອອກ­ຊີ່­ລິ­ໂບ­ນິວ­ຄີກ­ເອ­ຊິດ)
ການ­ຄົ້ນ­ພົບ­ໂຄງ­ສ້າງ­ກຽວ­ຄູ່­ຂະນານ­ຂອງ ໂມ­ເລ­ກຸນ DNA ເປີດ­ທາງ­ໃຫ້­ນັກ­ວິທະຍາ­ສາດ­ພະຍາຍາມ­ຖອດ­ລະຫັດ­ລັບ­ທີ່­ຊ່ອນ­ຢູ່­ພາຍ­ໃນ ແລະ­ຫລັງ­ຈາກ­ໃຊ້­ເວລາ­ດົນ­ຫລາຍກວ່າ­ຄຶ່ງ­ສົດ­ວັດ, ລະຫັດ­ລັບ­ຂອງ DNA ກໍ­ຖືກ­ແປ­ອອກ­ມາ­ໄດ້­ສຳ­ເລັດ­ເປັນ­ບາງ­ສ່ວນ ເຖິງ-ແມ່ນ-ວ່າ­ຍັງມີ­ລະຫັດ­ຈຳນວນ­ຫລາຍ­ທີ່­ຍັງ­ບໍ່­ສາມາດ­ເຮັດ­ຄວາມ­ເຂົ້າໃຈ­ໄດ້ ສິ່ງ­ທີ່­ຖືກ­ຄົ້ນ­ພົບ­ນີ້­ສົ່ງ­ຜົນ­ກະທົບ­ຕໍ່­ທິດສະດີ­ວິວັດທະນາ-ການ­ຂອງ­ດາລ໌­ວິນ ຊຶ່ງ­ຖືກ­ສັ່ງ­ສອນ­ໃນ­ໂຮງຮຽນ­ວ່າ­ທຳມະຊາດ­ເຮັດໃຫ້­ສິ່ງ­ມີ­ຊີວິດ­ທັງ­ຫລາຍ­ເກີດ­ການ­ວິວັດທະນາ-ການ­ໂດຍ­ຜ່ານ­ກຳ­ວິທີ­ການ­ຜ່າ­ເຫລົ່າ­ແລະ­ການ­ເລືອກ­ສັນ­ທາງ­ທຳມະຊາດ

การค้นพบอันน่าพิศวงเกี่ยวกับ DNA



นักวิทยาศาสตร์เริ่มต้นถอดรหัสพันธุกรรม(DNA) มนุษย์และได้พบกับบางสิ่งที่ไม่ได้คาดฝัน - "ภาษา" ของพันธุกรรมที่ประกอบด้วยอักษรพันธุกรรมถึง 3 พันล้านตัวอักษร ถือเป็น "การค้นพบที่มหัศจรรย์สุดยอดของศตวรรษที่ 20 " เลยทีเดียว ดร. สตีเฟน, ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม ที่สถาบันการค้นคว้าแห่งซีแอตเติล, วอชิงตัน. ได้กล่าวว่า "ความมหัศจรรย์นั้นก็คือ DNA บรรจุข้อมูลที่บอกรายละเอียดของการสร้างโปรตีน อยู่ในรูปแบบของรหัสดิจิตอล 4 หลัก" (อ้างอิงจากThe case for Creator,2004 หน้า 224, โดย Lee Strobel)




จำนวนข้อมูลใน พันธุกรรมมนุษย์นั้นสามารถเทียบได้โดยคร่าวๆกับชุดสารานุกรม เอ็นไซโครบิเดียบริตันนีกา จำนวน 12 ชุด หรือ 384 เล่ม ซึ่งอาจบรรจุได้เต็มในชั้นวางหนังสือของห้องสมุดยาว 48 ฟุต




เมื่อมองดูถึงขนาดของพันธุกรรมซึ่งเล็กเพียงแค่ สองล้านส่วนในหนึ่งมิลลิเมตรแล้ว ทำให้พันธุกรรมDNA 1 ช้อนชา สามารถบรรจุข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็นในการสร้างโปรตีนของอวัยวะทุกส่วนของสิ่งมีชีวิตทุกสปีชี่ Species ที่อาศัยอยู่ในโลกใบนี้ได้เลย นี่เป็นคำพูดของนักจุลชีววิทยา ไม่เคิล เดนตัน (อ้างอิงจาก "Evolution: A Theory in Crisis,1996, p. 334)


ใครหรืออะไรที่สามารถย่อส่วนข้อมูลและจัดวาง"ตัวอักษร"จำนวนมากมายมหาศาลให้เป็นลำดับที่เหมาะสมถูกต้องแน่นอนราวกับเป็นคู่มือคำสั่งทางพันธุกรรมได้เช่นนี้? วิวัฒนาการสามารถทำให้เกิดระบบกลไกเช่นนี้ได้หรือ?

การค้นพบอันน่าพิศวงเกี่ยวกับ DNA



นักวิทยาศาสตร์เริ่มต้นถอดรหัสพันธุกรรม(DNA) มนุษย์ และได้พบกับบางสิ่งที่ไม่ได้คาดฝัน - "ภาษา" ของพันธุกรรมที่ประกอบด้วย อักษรพันธุกรรมถึง 3 พันล้านตัวอักษร ถือเป็น "การค้นพบที่มหัศจรรย์สุดยอดของศตวรรษที่ 20” เลยทีเดียว ดร. สตีเฟน, ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม ที่สถาบันการค้นคว้าแห่งซีแอตเติล, วอชิงตัน. ได้กล่าวว่า "ความมหัศจรรย์นั้นก็คือ DNA บรรจุข้อมูลที่บอกรายละเอียดของการสร้างโปรตีน อยู่ในรูปแบบของรหัสดิจิตอล 4 หลัก" (อ้างอิงจากThe case for Creator, 2004 หน้า 224, โดย Lee Strobel)

จำนวนข้อมูลใน พันธุกรรมมนุษย์นั้นสามารถเทียบได้โดยคร่าวๆกับชุดสารานุกรม เอ็นไซโครบิเดียบริตันนีกา จำนวน 12 ชุด หรือ 384 เล่ม ซึ่งอาจบรรจุได้เต็มในชั้นวางหนังสือของห้องสมุดยาว 48 ฟุต




เมือมองดูถึงขนาดของพันธุกรรมซึ่งเล็กเพียงแค่ สองล้านส่วนในหนึ่งมิลลิเมตรแล้ว ทำให้พันธุกรรม DNA 1 ช้อนชา สามารถบรรจุข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็นในการสร้างโปรตีนของอวัยวะทุกส่วนของสิ่งมีชีวิตทุกสปีชี่ Species ที่อาศัยอยู่ในโลกใบนี้ได้เลย นี่เป็นคำพูดของนักจุลชีววิทยา ไม่เคิล เดนตัน (อ้างอิงจาก "Evolution: A Theory in Crisis, 1996, p. 334)




ใครหรืออะไรที่สามารถย่อส่วนข้อมูลและจัดวาง"ตัวอักษร"จำนวนมากมายมหาศาลให้เป็นลำดับที่เหมาะสมถูกต้องแน่นอนราวกับเป็นคู่มือคำสั่งทางพันธุกรรมได้เช่นนี้? วิวัฒนาการสามารถทำให้เกิดระบบกลไกเช่นนี้ได้หรือ?




DNA บรรจุภาษาพันธุกรรม


ลองมาพิจารณาถึงแบบแผนของ"ภาษา"พันธุกรรมสักหน่อย. เราเรียกมันว่า "ภาษา" เพราะมันประกอบด้วยพื้นฐานหลักของ ตัวอักษร หรือ กลไกการเข้ารหัส, ไวยากรณ์ (การจัดวางตำแหน่งที่แน่นอนของคำ), ความหมาย (สัญลักษณ์) และจุดประสงค์ที่จำเพาะเจาะจง นักวิทยาศาสตร์พบว่ารหัสพันธุกรรมมีสิ่งที่เป็นพื้นฐานเหล่านี้ครบถ้วน ดร.สตีเฟน เมเยอร์ ให้อรรถธีบายว่า รหัสที่อยู่ใน DNA มีคุณสมบัติเหมือนกับรหัสหรือภาษาของคอมพิวเตอร์ทุกประการ" (อ้างอิงจาก Emphasis in Original หน้า 237, โดย Lee Strobel)




รหัสที่เป็นภาษาอย่างแท้จริงนั้นพบว่ามีแต่ในมนุษย์เท่านั้น รหัสของสิ่งมีชีวิตอื่นยังไม่อาจนับเข้าเป็นภาษาได้ ถึงแม้ว่าเราจะเห็นสุนัขเห่าเวลาที่รู้สึกถึงอันตราย, ผึ้งเต้นรำเพื่อบอกเพื่อนของมันให้รู้ทิศทางของอาหาร และปลาวาฬส่งเสียงร้อง นี่เป็นการสื่อสารของสิ่งมีชีวิตในสปีชี่อื่น แต่มันมีโครงสร้างส่วนประกอบของการสื่อสารที่ไม่ใช่ภาษา แต่เป็นเพียงการส่งสัญญาณการสื่อสารในระดับต่ำเท่านั้น.




การสื่อสารประเภทเดียวเท่านั้นที่ถือได้ว่าเป็นภาษาขั้นสูง คือภาษาของมนุษย์, ภาษาของคอมพิวเตอร์, รหัสมอร์ส และรหัสพันธุกรรม. ยังไม่พบว่ามีการสื่อสารระบบอื่นนอกจากนี้ที่มีพื้นฐานหลักของการเป็นภาษาดังกล่าว.




บิล เกท เจ้าพ่อวงการคอมพิวเตอร์ผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ กล่าวว่า " DNA ก็เหมือนโปรแกรมซอฟท์แวร์ เพียงแต่มีความสลับซับซ้อนมากกว่าสิ่งประดิษฐ์ใดๆที่เราคิดค้นขึ้นมา"




ลองจินตนาการถึงอะไรที่สลับซับซ้อนยิ่งกว่าการทำงานของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ซึ่งเกิดขึ้นมาโดยบังเอิญอาศัยการวิวัฒนาการดูซิ - จะต้องใช้ระยะเวลานานเพียงใด, ต้องเกิดการผ่าเหล่าสักกี่ครั้งและต้องผ่านการเลือกสรรทางธรรมชาติเป็นจำนวนสักเท่าใดจึงจะเกิดสิ่งนั้นขึ้นมาได้?




ภาษา DNA กับ โมเลกุล DNA เป็นคนละอย่างกัน




จากการศึกษาในเรื่องทฤษฎีข้อมูล ทำให้สามารถสรุปสาระบางอย่างที่ยังความประหลาดใจ นั่นคือ, ข้อมูล ไม่สามารถจัดเป็นเรื่องเดียวกับ สสารและพลังงาน. ถูกต้องที่สสารและพลังงาน สามารถนำพาข้อมูลไปได้ แต่มันก็เป็นคนละสิ่งกับ ตัวข้อมูลเอง




ยกตัวอย่าง, หนังสือนิยาย "อิเลียด" ของโฮเมอร์ มีข้อมูลบรรจุอยู่ แต่ตัวหนังสือเองเป็นข้อมูลหรือ? ไม่ใช่, สสารของหนังสือ - กระดาษ, หมึกและกาวประกอบกันเป็นเล่มหนังสือ, แต่มันเป็นเพียงเครื่องมือและวิธีการที่จะสื่อสารเท่านั้น




แต่เมื่อข้อมูลในหนังสือถูกอ่านดังๆ, ถูกเขียนด้วยชอล์ก หรือพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ ตัวข้อมูลไม่ถูกทำให้เปลี่ยนแปลงหรือถูกรบกวนให้คุณภาพเสียหายไปด้วยวิธีการส่งผ่านข้อมูลแต่อย่างใด. ศาสตราจารย์ ฟิลิป จอห์นสัน กล่าวว่า " อันที่จริงเนื้อหาของสาส์น เป็นอิสระเอกเทศจากสิ่งที่เป็นกายภาพของสื่อ" (อ้างอิง: Defeating Darwinism by opening Minds, 1997, p. 71)


หลักการอันเดียวกันนี้ก็ปรากฏอยู่ในรหัสพันธุกรรมด้วยเช่นกัน โมเลกุล DNA เป็นตัวนำภาษาพันธุกรรม แต่ภาษาพันธุกรรมเป็นอิสระเอกเทศจากสื่อตัวนำของมัน ข้อมูลพันธุกรรมอันเดียวกันนี้สามารถเขียนลงในหนังสือ, บรรจุไว้ในแผ่นดิสก์ หรือส่งไปทางอินเตอร์เนท, โดยที่คุณภาพหรือเนื้อหาสาระของสาส์นข้อมูลนั้นไม่เปลี่ยนแปลงด้วยวิธีการส่งข้อมูล


ตามความคิดของ จอร์จ วิลเลี่ยม, พันธุกรรมเป็นที่สำหรับบรรจุข้อมูล, ตัวมันเองไม่ใช่ข้อมูล รูปแบบของการจับคู่เบสใน โมเลกุล DNA ระบุถึงลักษณะพันธุกรรม แต่โมเลกุล DNA เป็นแต่เพียงสื่อตัวนำเท่านั้น, ไม่ใช่สาส์นข้อมูลโดยตรง (อ้างอิง: Johnson, p' 70)



ข้อมูลพันธุกรรมกำเนิดมาจากสติปัญญาที่ปรีชาฉลาด


ข้อมูลขั้นสูงนี้ย่อมมีแหล่งกำเนิดมาจากสติปัญญาที่ชาญฉลาดเท่านั้น



ลี สโตรเบลให้อรรถธิบายว่า "ข้อมูลของรหัสแห่งชีวิตนี้ มิได้ไร้ระเบียบแบบแผน มันไม่ได้อยู่ในรูปแบบที่ง่ายๆเหมือนกับผลึกของเกลือ แต่มีความสลับซับซ้อนและข้อมูลที่จำเพาะเจาะจง ที่สามารถทำให้ผลงานอันน่ามหัศจรรย์สำเร็จสมประสงค์ได้ การสร้างสรรค์เครื่องจักรชีวะนั้นเป็นสิ่งที่นอกเหนือความสามารถของมนุษย์ที่จะทำได้" (p. 244)



ยกตัวอย่าง : ความแม่นยำของภาษาพันธุกรรมมีความผิดพลาดในอัตราเฉลี่ยน้อยกว่า 1 ใน 10 พันล้านตัวอักษร. ถ้าเกิดความผิดพลาดขึ้นในส่วนที่สำคัญที่สุดของรหัสซึ่งอยู่ในพันธุกรรม, อาจเป็นเหตุทำให้เกิดโรคโลหิตจางขึ้นได้. นักพิมพ์ดีดมือดีที่สุดในโลกก็ยังไม่สามารถทำได้ใกล้เคียงกับความผิดพลาดเพียง หนึ่งใน 10 พันล้านตัวอักษร นี้ได้เลย ยังห่างไกลมาก.

ดังนั้นความเชื่อที่ว่า รหัสพันธุกรรมได้รับการวิวัฒนาการอย่างช้าๆตามทฤษฎีของดาร์วินนั้น เป็นการแหกกฎทุกอย่างของธรรมชาติ, สสารและพลังงาน อันที่จริง, ยังไม่เคยมีตัวอย่างที่ระบบกลไกข้อมูลหนึ่งภายในเซลส์ที่ค่อยๆวิวัฒนาการกลายเป็นระบบข้อมูลที่ทำหน้าที่อื่นได้เลย.




ไมเคิล เบเฮ ศาสตราจารย์และนักชีวะวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ได้บรรยายเรื่องข้อมูลพันธุกรรมเป็นพื้นฐานหลักของคำสั่งพันธุกรรมและได้ให้ตัวอย่างเอาไว้ดังนี้.


เขาเขียนไว้ว่า : "ลองพิจารณาทีละขั้นตอนของคำสั่งทางพันธุกรรม. การผ่าเหล่าเป็นการเปลี่ยนเฉพาะบรรทัดเดียวในจำนวนหลายบรรทัดของคำสั่งพันธุกรรมนั้น ดังนั้นแทนที่จะพูดว่า , "จงเป็นลูกนัทขนาด ¼ นิ้ว”, การผ่าเหล่าจะบอกว่า “จงเป็นลูกนัทขนาด ¾ นิ้ว” หรือแทนที่จะบอกว่า “จงวางลูกกลมลงในรูกลม” ก็จะกลายเป็น “จงวางลูกกลมลงในรูเหลี่ยม” ... สิ่งที่การผ่าเหล่าไม่สามารถทำได้ก็คือการเปลี่ยนคำสั่งทั้งหมดในขั้นตอนเดียว – เช่น, (คำสั่ง) จงสร้างเครื่อง FAX แทนที่จะเป็น วิทยุ” (อ้างอิง: Darwin’s Black Box, 1996, p. 41)


เพราะฉะนั้นเราจึงมีรหัสพันธุกรรมที่มีคำสั่งที่สลับซับซ้อนมหาศาลที่ถูกออกแบบโดยสติปัญญาอันปรีชาฉลาดมากกว่ามนุษย์




แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบรหัสพันธุกรรมผู้หนึ่งคือ ฟรานซิส คริก ซึ่งไม่เชื่อเรื่องพระเป็นเจ้าและได้เสียชีวิตไปเมื่อเร็วๆนี้ หลังจากได้ศึกษาเพื่อถอดรหัสนี้เป็นเวลานับสิบปี, ก็ยอมรับว่า "คนที่ซื่อสัตย์ซึ่งมีความรู้ทุกอย่างเท่าที่จะหาได้ในปัจจุบัน ก็ต้องพูดในทำนองนี้ว่า, จุดกำเนิดของชีวิต นับเป็นเรื่องที่เกือบเป็นการอัศจรรย์, ต้องมีสภาวะหลายสิ่งหลายอย่างเหลือเกินที่อำนวยให้สิ่งนี้เกิดขึ้นได้"(Life Itself, 1984, p. 88)


ทฤษฎีวิวัฒนาการไม่สามารถตอบคำถามได้



เป็นเรื่องน่าคิดว่า นักวิทยาศาสตร์, ถึงแม้จะใช้ความพยายามนับแรมปีในห้องทดลองทั่วโลก ก็ยังไม่สามารถสร้างได้แม้แต่เส้นผมของมนุษย์เพียงเส้นเดียว. แล้วการที่จะสร้างร่างกายมนุษย์ที่ประกอบด้วย 100 ล้านล้านเซลล์ จะยิ่งยากลำบากนักหนาสักเพียงไร






จนกระทั่งบัดนี้ ทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วินก็ยังพยายามหาคำอธิบายเท่าที่จะเป็นไปได้สำหรับความสลับซับซ้อนของชีวิต. แต่พวกเขาต้องเผชิญกับปัญหาที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก: นั่นคือ ความบังเอิญจะทำให้เกิดข้อมูลจำเพาะเจาะจงที่แม่นยำขึ้นมาได้อย่างไร - โดยการผ่าเหล่าและการเลือกสรรทางธรรมชาติหรือ? เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่มีกลไกอัจฉริยะที่จำเป็นสำหรับการสร้างข้อมูลที่สลับซับซ้อน ที่เทียบได้กับรหัสพันธุกรรม.


ทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วินยังคงถูกสอนในโรงเรียนราวกับว่ามันเป็นความจริง. แต่มีนักวิทยาศาสตร์จำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆที่เริ่มต้องการให้มีปรับปรุงเสียใหม่ แพทริก กลีน ผู้ที่เคยเชื่อว่าไม่มีพระเป็นเจ้าได้กล่าวว่า "เหมือนเมื่อ 25 ปีก่อน, นักคิดได้วิเคราะห์หลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้เหตุผลในเรื่องที่ยังเคลือบแคลงสงสัยอยู่ (เกี่ยวการเนรมิตสร้าง) แต่นั่นไม่เป็นปัญหาต่อไปแล้ว ปัจจุบันนี้มีข้อมูลที่หนักแน่นที่ชี้ชัดไปยังสมมุติฐานเรื่องพระเป็นเจ้า. มันเป็นผลลัพธ์ที่ง่ายและแจ่มชัดที่สุด...."(God: The Evidence, 1997, pp. 54 - 55, 53)




คุณภาพของข้อมูลพันธุกรรมคงเดิมเสมอ

ทฤษฎีวิวัฒนาการบอกเราว่าสิ่งมีชีวิตมีวิวัฒนาการโดยผ่านการผ่าเหล่าและการเลือกสรรทางธรรมชาติ. การวิวัฒนาการหมายถึงการค่อยๆเปลี่ยนแปลงรูปแบบบางอย่างของสิ่งมีชีวิตบางชนิดจนกระทั่งกลับกลายเป็นสิ่งมีชีวิตอีกประเภทหนึ่ง และสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลพันธุกรรม.


แล้วเราพบอะไรในรหัสพันธุกรรม? เราพบว่าคุณภาพพื้นฐานของข้อมูลในแบคทีเรียหรือพืชนั้นเทียบเท่ากับมนุษย์. แบคทีเรียมีรหัสพันธุกรรมที่สั้นกว่า, แต่มีคุณภาพของคำสั่งแม่นยำและถูกต้องเท่าเทียมกับของมนุษย์. มีความถูกต้องของภาษา,ไวยากรณ์และสัญลักษณ์ในแบคทีเรีย, แอลจีเช่นเดียวกับมนุษย์.


นักชีวะวิทยา ไมเคิล เดนตันได้พูดว่า "ข้อมูลพันธุกรรมในแต่ละเซลล์, จากแบคทีเรียมาถึงมนุษย์,ประกอบด้วยภาษาและระบบกลไกการเข้ารหัส, ธนาคารความจำสำหรับเก็บข้อมูลและส่งข้อมูล, ระบบควบคุมที่น่าทึ่งในการประกอบชิ้นส่วนต่างๆ, ระบบควบคุมคุณภาพที่แก้ไขข้อบกพร่องและตรวจสอบการอ่านรหัสที่มีคุณภาพสูง, ขบวนการประกอบชิ้นส่วนที่มีหลักการของการขึ้นรูปโครงสร้างและการจำลองรูปแบบ.... (และ) ความสามารถที่เครื่องมือทันสมัยของมนุษย์ไม่สามารถแข่งขันได้, เพราะมันสามารถจะจำลองและผลิตโครงสร้างใหม่ทั้งหมดได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง" (Denton, p. 329)


แล้วรหัสพันธุกรรมของ DNA จะค่อยๆวิวัฒนาการไปเป็นข้อมูลของสิ่งมีชีวิตอื่นได้อย่างไร ในเมื่อถ้าหากมีความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยในล้านตัวอักษรของ DNA อาจทำให้แบคทีเรียนั้นตายได้?




นักวิวัฒนาการวิทยากลับนิ่งเฉยในเรื่องนี้. พวกเขาไม่มีความคิดที่จะหาสมมุติฐานมาอธิบาย ลี สโตรเบลเขียนไว้ว่า : "ขด DNA ยาว 6 ฟุตภายในเซลล์มนุษย์จำนวน ร้อยล้านล้านเซลล์ประกอบด้วยตัวอักษรรหัสเคมีเพียง 4 ตัวที่ประกอบกันและสะกดออกมาเป็นคำสั่งอันแม่นยำสำหรับรูปแบบของโปรตีนทั้งหมดของร่างกายมนุษย์...ยังไม่มีสมมุติฐานใดที่จะอธิบายถึงวิธีการที่จะรับและส่งข้อมูลไปสู่สารชีวะภาพเพื่อก่อกำเนิดรูปแบบทางชีวะโดยวิธีทางธรรมชาติ" (Strobel, p. 282 )



โปรเฟสเซอร์ด้านระบบข้อมูล, เวอร์เนอร์ กิท, สรุปว่า: "ข้อบกพร่องพื้นฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการคือ"จุดกำเนิดของข้อมูลในสิ่งมีชีวิต" ยังไม่เคยมีการพิสูจน์ให้เห็นเลยว่าระบบการเข้ารหัสและข้อมูลสัญลักษณ์จะก่อกำเนิดขึ้นมาได้ด้วยตัวของมันเอง (โดยอาศัยสสาร)...โดยทฤษฎีแล้วสิ่งนี้เป็นไปไม่ได้. สารบริสุทธิ์ที่เป็นจุดกำเนิดของชีวิตไม่สามารถทำได้" (Gitt, p. 124)



ผู้ที่ยังยึดติดทฤษฎีอยู่




นอกเหนือจากหลักฐานที่แสดงว่าสติปัญญาที่ปรีชาฉลาดเป็นผู้ออกแบบข้อมูลของ DNA แล้ว, ยังมีความจริงที่น่าประหลาดใจอีกประการหนึ่ง - นั่นคือเรื่องของ "จำนวนตัวอักษรที่เหมาะสม" ในรหัสพันธุกรรมที่เก็บและส่งข้อมูล




กลไกการทำสำเนาของ DNA เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด จำเป็นต้องมีจำนวนตัวอักษรในแต่ละคำเป็นเลขคู่. ด้วยความเป็นไปได้ทางคณิตสัมพันธ์, จำนวนตัวอักษรที่เหมาะสมสำหรับเก็บและส่งข้อมูลเหมือนถูกคำนวณไว้เรียบร้อยแล้วว่า เท่ากับ 4 ตัวอักษร




สิ่งน่าทึ่งนี้ถูกพบในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่อาศัยอยู่บนโลก รหัสดิจิตอล 4 ตัวอักษร. ตามที่ เวอร์เนอร์ กิท กล่าวไว้ : "ระบบการเข้ารหัสสำหรับสิ่งมีชีวิตมีความพอดีตามหลักวิศวกรรม. ความจริงประการนี้เป็นการยืนยันหนักแน่นในเรื่องที่ว่า การออกแบบนั้นมีจุดประสงค์ที่แน่นอนไม่ใช่เป็นการบังเอิญ" (Gitt, p. 95 )




หลักฐานพยานอีกมากมาย




ถอยกลับไปในสมัยของดาร์วิน, เมื่อเขาเขียนหนังสือ จุดกำเนิดของสิ่งมีชีวิต "Origin of Species" และตีพิมพ์ในปี 1859 นั้น ชีวิตดูจะเป็นเรื่องง่ายๆเมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์รุ่นแรก เซลล์เป็นเหมือนวุ้นที่มีลักษณะง่ายๆและโครงสร้างที่ไม่สลับซับซ้อน ปัจจุบันนี้, อีก 150 ปีต่อมา, ภาพดังกล่าวได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงเมื่อวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบความจริงที่อยู่ในจักรวาลจิ๋วของเซลล์




ศาสตราจารย์ เบเฮ เขียนว่า "เคยคิดกันว่าพื้นฐานของชีวิตนั้นคงจะเป็นสิ่งง่ายๆ แต่ความคิดนั้นถูกทำลายไปแล้ว การคิดว่า การมองเห็น, การเคลื่อนไหวและการทำหน้าที่อื่นๆของอวัยวะ จะมีการทำงานที่เหมือนกับทีวี, กล้องถ่ายรูปหรือรถยนต์นั้นเป็นความคิดที่ผิด วิทยาศาสตร์ได้ก้าวหน้าไปอย่างมากในการทำความเข้าใจการทำงานทางเคมีของชีวิต, แต่ความงดงามและความสลับซับซ้อนของระบบชีวะวิทยาระดับโมเลกุลทำให้ความพยายามของวิทยาศาสตร์ที่จะอธิบายจุดกำเนิดของชีวิตต้องเป็นอัมพาตไป" ZBehe, p. x)




ดร. เมเยอร์ ให้ความเห็นว่าการค้นพบเกี่ยวกับ DNA แสดงให้เห็นจุดอ่อนของทฤษฎีวิวัฒนาการ : "นักวิวัฒนาการวิทยายังคงพยายามนำทฤษฎีของดาร์วินสมัยศตวรรษที่ 19 มาใช้กับความเป็นจริงในสมัยศตวรรษที่ 20 ซึ่งไม่ประสพผลสำเร็จ...ผมคิดว่าการปฏิรูปทางข้อมูลชีวะวิทยาดูเหมือนจะเป็นจุดสิ้นสุดของผู้นิยมทฤษฎีดาร์วินและทฤษฎีวิวัฒนาการทางเคมี" (ibid., p. 77)




ดร.เมเยอร์ สรุปว่า "ผมเชื่อว่าข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนความเชื่อในพระเป็นเจ้า. ขณะที่ความขัดแย้งยังคงมีอยู่เสมอในบางจุดที่ยังไม่มีการพิสูจน์ พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เมื่อห้าสิบปีก่อนอยู่ในแนวทางตามความเชื่อในพระเป็นเจ้า" (ibid., p. 77)




นักชีวะวิทยา, ดีน เคนยัน, ได้เขียนหนังสือที่ปฏิเสธทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน - ซึ่งสืบเนื่องมาจากมีข้อพิสูจน์จากหลักฐานการค้นพบข้อมูลใน DNA - ได้กล่าวว่า: "ขอบเขตใหม่ของโมเลกุลพันธุกรรมวิทยา ทำให้เราได้เห็นหลักฐานที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกนี้มีการออกแบบ" (ibid., p. 221)




ไม่นานมานี้เอง ผู้มีชื่อเสียงท่านหนึ่งซึ่งไม่เชื่อว่ามีพระเป็นเจ้า, ศาสตราจารย์ แอนโทนี่ ฟลิว, ได้ยอมรับว่าเขาไม่สามารถอธิบายโดยอาศัยหลักการวิวัฒนาการได้ว่า DNA ถูกสร้างและมีพัฒนาการขึ้นมาได้อย่างไร. เวลานี้เขายอมรับว่าจำเป็นต้องมีสติปัญญาที่ปรีชาฉลาดเกี่ยวข้องในการให้กำเนิดรหัส DNA




"ผมคิดว่ารูปแบบของสาร DNA นั้นแสดงว่าต้องมีสติปัญญาที่ปรีชาฉลาดในการทำให้สารพื้นฐานที่พิเศษนี้มารวมกันได้" (อ้างอิงจาก "Leading Atheist Now Believes in God W, Associated Press report, Dec. 9, 2004)

อะไรคือมูลเหตุแห่งการเสื่อมสูญของพุทธศาสนาในอินเดีย

"ศาสนาพุทธหายไปจากอินเดียได้อย่างไร?"





คำตอบจากหนังสือ "ตามรอยพระพุทธเจ้า" สรุปออกมาให้ทราบกัน..


..ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ที่ตั้งของเมืองมถุรา ซึ่งในวรรณกรรมมหาภารตะ กล่าวว่าเป็นบ้านเกิดของพระกฤษณะ




ที่นี่จึงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวฮินดูเดินทางมาแสวงบุญกันเป็นประจำ พวกเขาเคารพนับถือและผูกพันกับพระกฤษณะอย่างมาก เพราะเป็นทั้งวีรบุรุษและเทพเจ้าผู้ทรงความยุติธรรมในมหาภารตะที่ชาวอินเดียทุกคนรู้จักอย่างดี ส่วนคัมภีร์พระเวทเป็นคัมภีร์ที่อ่านได้เฉพาะคนในวรรณะพราหมณ์เท่านั้น




ลัทธิวิษณุอวตารเป็นความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ศาสนาพราหมณ์ในยุคนั้น




ในคัมภีร์พระเวทกล่าวไว้ว่า เมื่อย่างเข้าสู่กลียุค พระวิษณุได้อวตารมาเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อสอน




"อธรรม" แก่เหล่าอสูร เป็นการชักพาศัตรูของเทพยดาให้หลงผิดและออกไปเสียจากศาสนาฮินดู




*เหตุนี้ถ้าใครหันมานับถือศาสนาพุทธจะถูกมองว่าเป็นพวกอสูรหรือศัตรูของเทพเจ้า*


ในยุคนั้นได้เกิดการเผชิญหน้ากันทางความคิดเพื่อแย่งชิงมวลชนให้เข้ามานับถือลัทธิ ศาสนาของตน แม้แต่ชาวพุทธเองก็ได้ตอบโต้ด้วยท่าทีที่แข็งกร้าว โดยสร้างรูปพระโพธิสัตว์ทำท่าหยาบหยามรูปเทพเจ้าและศาสดาต่างลัทธิ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่ไม่ใช่หลักคิดของพุทธที่ยึดถือในเรื่องเหตุผลและคุณธรรม




ศาสนาพุทธเองนั้น เมื่อเข้าสู่ยุคมหายาน ก็ได้แตกเป็นนิกายต่างๆ อีกมากมาย พระสงฆ์ต่างมุ่งศึกษาคิดค้นหลักปรัชญาความคิดที่ลึกซึ้ง ซับซ้อน มากขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมที่พระธรรมเคยเป็นแนวปฏิบัติใช้ในชีวิตจริง ก็กลายเป็นของยากสำหรับสามัญชน




*กลายเป็นเรื่องของนักปราชญ์ในวัด ชาวบ้านทั่วไปไม่เข้าใจว่าพุทธศาสนาคืออะไร?*




จนกล่าวกันว่าความรุ่งโรจน์ของมหาวิหารพุทธในเมืองใหญ่ได้ดึงดูดให้พระสงฆ์เข้าศึกษาพุทธปรัชญากันมากมายจนว่างเว้นการออกเผยแผ่พระธรรมสู่ชาวบ้านในชนบท




พอพุทธศตวรรษที่ 14 เกิดลัทธิตันตระที่ค่อยๆ ซึมซับเข้าสู่แนวคิดของพุทธมหายานมาเรื่อยๆ จนในที่สุดพุทธศาสนานิกายตันตระยานก็ได้เกิดขึ้นอย่างเต็มตัว ในพระอุปถัมภ์ของกษัตริย์ราชวงศ์ปาละ




พุทธตันตรยานถือว่า "ตัณหา" เป็นเพียงสิ่งลวง เป็นมายา การปลดเปลื้องตัวเองให้พ้นจากอำนาจของตัณหา ไม่ใช่การทำลาย แต่จะต้องเปลี่ยนให้เป็นความรู้แจ้งเห็นจริง คือ ปัญญา จึงสามารถหลุดพ้นจากบ่วงตัณหาได้




มาถึงเวลานี้ "ศาสนาพุทธ" และ "ศาสนาฮินดู" ก็ละม้ายคล้ายคลึงกันเข้าไปทุกที โดยเฉพาะเมื่อพุทธนำหลักตันตระมาใช้เช่นเดียวกับฮินดูตันตระ


แม้ว่า "พุทธตันตระ" จะมีจุดมุ่งหมายแท้จริงอยู่ที่การบรรลุโพธิญาณเหมือนพุทธนิกายอื่น แต่ความซับซ้อน สูงส่ง ของหลักปรัชญาอาจทำให้คนส่วนใหญ่สัมผัสได้เพียงเปลือกนอก จนไขว่เขวไปจากจุดมุ่งหมายเดิมของพระพุทธเจ้า




จนกล่าวกันว่าการที่พุทธบริษัทในสมัยนั้นให้ความสำคัญกับเวทมนตร์คาถาและพิธีกรรมมากจนเกินไป จนไม่ใส่ใจแก่นแท้ของคำสอน ทำให้ศาสนาพุทธเข้าสู่ยุคเสื่อมโทรมที่สุดของประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในอินเดีย




หลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงสุดท้ายของศาสนาพุทธในอินเดีย เป็นเหตุให้ประทีปแห่งพุทธศาสนาอ่อนแสงลงอย่างมาก จนไม่อาจต้านทานแรงลมใดๆ

กระทั่งเข้าสู่พุทธศตวรรษที่ 18 นักรบชาวเติร์กก็ได้ยกทัพเข้ามาถึงอินเดียตะวันออก และทำลายอาณาจักรในลุ่มแม่น้ำคงคา ตลอดจนวัดวาอาราม มหาวิทยาลัยสงฆ์อย่างสิ้นซาก




*ศาสนาพุทธก็ถึงคราวดับสูญไปจากอินเดียในที่สุด


มูลเหตุของการเสื่อมสูญของพระพุทธศาสนาในอินเดียมีหลายทัศนะจากท่านผู้รู้ทั้งหลาย เมื่อพิจารณาทัศนะเหล่านั้นแล้วก็ล้วนมีความเป็นไปได้ทั้งสิ้น เหตุปัจจัยที่ทำให้พุทธศาสนาเสื่อมสูญไปจากมาตุภูมิคงเป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไปคล้ายนำเซาะหิน ไม่ใช้แบบน้ำเซาะทราย พระธรรมปิฎก ( ป.อ. ปยุตโต) ได้กล่าวถึงสาเหตุไว้หลายประการ จึงขอนำมากล่าวโดยย่อดังนี้



1. คณะสงฆ์อ่อนแอเสื่อมโทรมลง


พระสงฆ์แต่เดิมปฏิบัตินตามธรรมวินัยทำให้ประชาชนทุกชนชั้นเลื่อมใส พากันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาจนเจริญรุ่งเรือง แต่ต่อมาในรุ่นหลังๆ หลงมัวเมาในลาภสักการะ ลืมหน้าที่ที่แท้จริง เป็นเหตุให้เกิดสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาเหล่านี้


- ติดถิ่น ติดที่ เพลิดเพลินในลาภสักการะและความสุขสบาย นึกถึงแต่เรื่องของตนเอง และปัจจัยเครื่องอาศัยของตนเอง ทอดทิ้งหน้าที่ต่อประชาชน


- วุ่นวายอยู่กับพิธีกรรม และงานฉลองอันสนุกสนานต่างๆ จนความเขาใจเรื่องบุญกุศลแคบลงเป็นเรื่องรับเข้าหรือเอาฝ่ายเดียว


- ศึกษาเล่าเรียนลึกซึ้งลงไปแล้ว มัวหลงเพลินกับการถกเถียงปัญหาปรัชญาประเภท อันตคาหิกทิฏฐิ จนลืมศาสนกิจสามัญในระหว่างพุทธบริษัท


- มีความประพฤติปฏิบติย่อหย่อนลง เพราะเพลิดเพลินในความสุขสบาย และแตกสามัคคีแยกเป็นพวกเป็นนิกาย เพราะถือรั้นรังเกียจกันตกลงกันไม่ได้


- เห็นแก่ความง่าย ตามใจตนเอง ตามใจคน ปล่อยให้เรื่องไสยศาสตร์ เรื่องลึกลับอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ พอกพูนมากขึ้น ตนเองก็เพลิดเพลินมัวเมาในเรื่องเหล่านั้น และทำให้ประชาชนจมดิ่งลง แทนที่จะมีเหตุผลยิ่งขึ้น เข้มแข็ง มีปัญญาและพึ่งตนได้มากขึ้น ก็กลับอ่อนแอต้องคอยหวังพึ่งปัจจัยภายนอกมากยิ่งขึ้น และทำให้พระพุทธศาสนามีสภาพคล้ายคลึงกับศาสนาอื่นๆ มากมาย เช่น แปรรูปไปเป็น ตันตระ แบบเสื่อมโทรม จนเหมือนตันตระของฮินดู และหมดลักษณะพิเศษของตนเอง


2. ศาสนาฮินดูต่อต้านบีบคั้น


คำสอนของพระพุทธศาสนาขัดแย้งและทำลายความเชื่อถือเดิมในศาสนาพราหมณ์มากมายหลายอย่าง เป็นเหตุให้ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูในสมัยต่อมา พยายามหาทางลิดรอนพระพุทธศาสนาโดยวิธีต่างๆ ข้อที่ควรศึกษาในเรื่องนี้มีดังนี้


- พระพุทธศาสนาสอนว่าทุกคนมีความเสมอภาค ควรมีสิทธิและโอกาสเท่าเทียมกัน ไม่จำกัดด้วย วรรณะ และให้ทุกคนศึกษาเล่าเรียนในพระธรรมวินัยเหมือนกันหมด คำสอนนี้กระทบกระเทือนฐานะของพราหมณ์ทั้งหลาย ซึ่งถือว่าตนเป็นวรรณะสูงสุด มีสิทธิพิเศษต่างๆ และเคยผูกขาดการศึกษาไว้ โดยปกติพราหมณ์เป็นคนชั้นสูง มีอำนาจและอิทธิพลมาก เช่น เป็นปุโรหิตของพระราชา เป็นต้น แต่พระพุทธศาสนาแพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไป ตราบใดที่ประชาชนยังมีศรัทธามั่นคง พระสงฆ์ยังเป็นที่พึ่งของประชาชนและทำหน้าที่ต่อประชาชนอย่างถูกต้อง พวกพราหมณ์ก็ไม่กล้าทำอันตราย หรือทำก็ไม่สำเร็จ ยิ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงอุปถัมภ์อยู่ด้วย พระพุทธศาสนาก็ยิ่งมั่นคง จะสังเกตเห็นได้ว่าพระมหากษัตริย์ที่เป็นพุทธมามกะถูกพระองค์ทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา อุปถัมภ์ทุกๆ ศาสนา เช่น พระเจ้าอโศก กนิษกะ หรรษวรรธนะ เป็นต้น แต่พราหมณ์จะไม่พอใจในการอุปภัมภ์พระพุทธศาสนา เช่น ปุษยมิตร ทำลายวงศ์กษัตริย์พุทธขึ้นครองราชย์ แล้วกำจัดพุทธศาสนา พวกพราหมณ์ข้าราชการของพระเจ้าหรรษวรรธนะ ริษยาการทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ถึงกับวางแผนปลงพระชนม์เป็นต้น ในสมัยที่พราหมณ์ขึ้นเป็นกษัตริย์แม้จะไม่กล้ากำจัดพระพุทธศาสนา แต่ก็ทำให้พระพุทธศาสนาต้องยอมประนีประนอมคำสอนกับฮินดู จนกลายเป็นเหมือนกันและถูกกลืนไปในที่สุด


- พวกพราหมณ์ใช้ศาสนาฮินดูเป็นหลักของลัทธิชาตินิยมโดยผนวกความเป็นคนอินเดียเข้ากับความเป็นฮินดู ซึ่งจะสังเกตเห็นว่ากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอินเดียเป็นพุทธมามกะ และมักจะเป็นเชื้อสายชนต่างชาติ ที่เห็นชัดเจนคือ พระเจ้ากนิษกะทรงเป็นชนเชื้อสายมงโกลในเผ่ากุษาณ ชาวอินเดียที่จะกำจัดราชวงศ์กุษาณในสมัยต่อมา ใช้ลัทธิชาตินิยมเป็นเครื่องรวมกำลัง และการที่กษัตริย์วงศ์นี้นับถือพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า พระพุทธศาสนาจึงถูกเพ่งมองในฐานะศาสนาของคนต่างชาติด้วย แม้ในเรื่องนี้พระเจ้าอโศกมหาราชก็เช่นกัน มีปราชญ์สันนิษฐานว่า พระองค์มีพระมารดาเป็นชนชาติกรีก พวกพราหมณได้พยายามกำจัดราชวงศ์นี้พร้อมทั้งพระพุทธศาสนา พระเจ้าอโศกแม้จะเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด แต่ไม่ปรากฏเกียรติคุณในประวัติศาสตร์ของชาวฮินดูเลย ต่อเมื่อชาวยุโรปมาขุดค้นศึกษา พระนามของพระเจ้าอโศกจึงปรากฏขึ้นมา และชาวอินเดียเองจึงพลอยยอมรับ นอกจากนี้ แม้พระพุทธเจ้าเองก็มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นชนเผ่ามงโกล ซึ่งย่อมไม่เป็นที่พึงพอใจของพราหมณ์


- ปราชญ์ฮินดูพยายามนำเอาหลักการในพระพุทธศาสนาไปปรับปรุงหลักธรรมของตนเองให้ออกรูปใหม่บ้าง นำไปทำตามอย่างบ้าง เพื่อให้มีกำลังเทียบเคียงกันได้ และให้ดูคล้ายคลึงเหมือนกัน กลืนกันจนไม่จำเป็นจะต้องมีพระพุทธศาสนาอยู่ต่างหาก และเมื่อฝ่ายพุทธศาสนาอ่อนแอก็กลืนได้ง่าย เช่นสังกราจารย์ นำหลักในพุทธปรัชญาไปแปลงรูปเป็นปรัชญาเวทานตะของตน และสร้างวัดฮินดู ตั้งคณะนักบวชสันยาสีเลียนแบบคณะสงฆ์ เป็นต้น แม้องค์พระพุทธเจ้าเอง ก็กลายเป็นอวตารของพระนารายณ์ไป

3. ชนชาติมุสลิมเข้ารุกรานและทำลาย


ในระยะที่คณะสงฆ์กำลังอ่อนแอลงนั้น ก็พอดีกองทัพชนชาติอาหรับและเตอร์กเข้ารุกรานเป็นระลอกๆ และทำลายพุทธศาสนาลงจนหมด เช่น ทำลายมหาวิทยาลัยวลภีลงในราว พ.ศ. 1350-1400 และทำลายหมดทุกแห่งใน พ.ศ. 170 เป็นต้น โดยวิธี


- ฆ่าพระสงฆ์ เช่นที่นาลันทา นักประวัติศาสตร์มุสลิมเองบันทึกไว้ว่าพระถูกฆ่าประมาณหมื่นรูป คือไม่ให้เหลือเลยทุกแห่ง


- ทำลายสถาบันและสิ่งก่อสร้างโดยเผาผลาญวัดวาอารามและมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาทุกแห่ง บางแห่งแม้แต่ซากก็ไม่ให้เหลือ


- เผาคัมภีร์และตำรับตำราพระพุทธศาสนา เช่น ที่หอสมุดของนาลันทาเผาอยู่แรมเดือน


การทำลายครั้งนี้ทำให้คณะสงฆ์สลายตัว และตั้งไม่ติดอีกเลย ระบบของพระพุทธศาสนานั้นดำรงอยู่ในรูปสถาบัน ซึ่งปันเป็นพุทธบริษัท 2 ฝ่าย ปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละฝ่ายต่อกันโดยฝ่ายพระสงฆ์เป็นผู้นำในทางจิตใจ มีความเป็นอยู่และที่อยู่ต่างหากชัดเจน กำจัดได้ง่าย เมื่อหมดพระสงฆ์ หมดผู้นำ พุทธศาสนิกก็ถูกบังคับบ้าง ถูกชักจูงบ้าง กลายเป็นมุสลิมหรือฮินดูไป ฝ่ายฮินดูถึงจะถูกกำจัดพร้อมกัน แต่เพราะนักบวชฮินดูมีหลายแบบ บางพวกอยู่ตามบ้านมีครอบครัว มีความเป็นอยู่ไม่ต่างจากคนทั่วไป ก็เหลือรอดอยู่ได้ง่าย ขณะนั้นหลักการทั่วไปของพระพุทธศาสนากับฮินดู คล้ายคลึงกัน หรือผสมผสานกันมากแล้ว เมื่อฝ่ายฮินดูเหลืออยู่ ก็ชักไปเข้าฮินดูโดยง่ายไม่มีใครขัดขวาง วัดพุทธศาสนาที่หลงเหลืออยู่ก็ถูกพราหมณ์เข้าครองกลายเป็นวัดฮินดู ชาวพุทธที่เหลือก็ถูกกลืนช้าๆ เขาสู่สังคมแห่งวรรณะของฮินดู (พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตโต), พระพุทธศาสนาในอาเซีย, โรงพิมพ์ธรรมสภา, 2540 (358-364)




กรุณา กุศลาศัย ได้กล่าวถึงสาเหตุการเสื่อมสูญของพระพุทธศาสนาในอินเดียไว้ดังนี้


ประวัติศาสตร์ให้บทเรียนว่า สถาบันหรือขนบธรรมเนียมใด ๆ ก็ตามซึ่งในระยะเริ่มต้น อาจจะมีคุณูปการหรือประโยชน์ต่อสังคม แต่เมื่อกาลเวลาได้ล่วงเลยไป หากสถาบันหรือขนบธรรมเนียมนั้น ๆ ไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับกาลเทศะ สถาบันหรือขนบธรรมเนียมดังกล่าว อาจกลายเป็นอุปสรรคสิ่งขัดขวางต่อการเจริญก้าวหน้าของสังคมนั้นได้


ความจริงข้อนี้ ประวัติศาสตร์มีนิทัศน์อุทาหรณ์ให้เห็นอยู่มากมาย ตัวอย่างเช่น การแบ่งอาชีพกันทำเพื่อทักษะและความชำนาญ (การแบ่งคนออกเป็นวรรณะในสังคมอินเดียโบราณ) การประกอบพิธีทางศาสนา การเชื่อถือพระเจ้าหลายองค์ (พหุเทวนิยม) ของชาวกรีกโรมันและชาวอียิปต์โบราณ การยกย่องระบบกษัตริย์ให้เป็นสมมติเทพ การเสกคาถาอาคมและปลุกผีสางเทวดา พฤติกรรมเหล่านี้มีประโยชน์ต่อสังคมในยุคหนึ่งสมัยหนึ่ง แต่เมื่อกาลเวลาได้ล่วงเลยไป พฤติกรรมดังกล่าวกลับเป็นอุปสรรคสิ่งกีดขวาง ที่กล่าวมานี้ฉันใด พิธีกรรมและวัตรปฏิบัติทางศาสนาจำนวนไม่น้อย ก็น่าจะนำมาเปรียบเทียบได้ฉันนั้น






1.การแยกตนไปดำรงชีวิตต่างหากของสงฆ์


ในกรณีของพุทธศาสนานั้น การแยกตนไปดำรงชีวิตต่างหากของสงฆ์ เป็นเหตุสำคัญประการหนึ่ง แห่งการอ่อนกำลังของพุทธศาสนา จริงอยู่ในระยะแรก ๆ แห่งการก่อตั้ง การที่สงฆ์แยกจากสังคมคฤหัสถ์ไปดำเนินชีวิตต่างหาก เป็นการรักษาความมีระเบียบ ความบริสุทธิ์ผ่องใส และเป็นการส่งเสริมการศึกษาและความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณ แต่เมื่อกาลเวลาได้ล่วงเลยไป สงฆ์ได้หลงลืมวัตถุประสงค์เดิมตามคำสอนของพุทธองค์ สงฆ์หันไปหมกมุ่นอยู่กับกิจธุระส่วนตัวเป็นสำคัญ สงฆ์ทอดทิ้งไม่ดูแลการศึกษา และให้การอบรมด้านศีลธรรม และสติปัญญาแก่ประชาชน หลักฐานทางประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่า ในระยะแรก ๆ แห่งการก่อตั้งสงฆ์โดยพุทธานุมัตินั้น สงฆ์ได้บำเพ็ญกรณียกิจ ในฐานะเป็นผู้ให้การศึกษา ฝึกอบรมศีลธรรม และพัฒนาจิตวิญญาณ แก่ประชาชนเป็นอย่างยิ่ง แต่ในกาลเวลาต่อมาอุดมการณ์ด้านนี้ของสงฆ์ได้เลือนรางจางหายไป พุทธศาสนามีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อพัฒนาการด้านวัฒนธรรมของอินเดีย และของหลายประเทศในทวีปเอเชีย พุทธศาสนาเป็นพลังดลใจในศิลปศาสตร์นานาแขนงทั่วเอเชีย แต่ในประเทศอินเดียเองด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้ว พุทธศาสนาได้สูญเสียฐานะความเป็นผู้นำทางศาสนา ไปอย่างน่าเสียดาย สัมฤทธิผลของศาสนาใดศาสนาหนึ่งนั้น ขึ้นอยู่กับประชาชนผู้เป็นบริษัทบริวารของศาสนานั้นด้วย ศาสนาชิน (Jain) ซึ่งมีคำสอนและวัตรปฏิบัติคล้ายคลึงกับพุทธศาสนาอยู่หลายอย่างหลายประการ มีการจัดตั้งในสังคมฆราวาส (คนทั่วไปที่ไม่ใช่นักบวช) ด้วยเหตุนี้ ศาสนาชินจึงยังคงดำรงสถานะเป็นศาสนาหนึ่ง ในประเทศอินเดียได้ตราบจนทุกวันนี้ ศาสนาพราหมณ์ หรือฮินดูก็เช่นเดียวกัน กล่าวคือ สังคมฆราวาสกับสังคมนักบวชหาได้แยกกันไม่ ทั้งสองเกี่ยวข้องกันอย่างแนบแน่น พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เกิดในอินเดียศาสนาเดียวที่ไม่เข้าไปข้องเกี่ยวกับวัตรปฏิบัติทางสังคม พุทธศาสนาไม่มีบทบัญญัติเป็นกิจจะลักษณะในเรื่องเกี่ยวกับการเกิด การตาย หรือการแต่งงานของพุทธศาสนิกชน พุทธศาสนาให้เสรีภาพในกิจกรรมเหล่านี้อย่างสมบูรณ์ โดยถือว่าเป็นสิทธิของแต่ละบุคคล ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนาในอินเดียก็คือ มหาเศรษฐีอนาถบิณฑิก ผู้เป็นพุทธอุปัฏฐากคนสำคัญแห่งนครสาวัตถี ได้ยกธิดาคนหัวปีชื่อมหาสุภัททา ให้แก่คหบดีแห่งเมืองอุคคนครผู้นับถือศาสนาชิน (ในภาษาบาลีมีชื่อว่า นิคัณฐนาถปุตตะ) ความมีใจกว้างหรือการให้เสรีภาพแก่ศาสนิกเช่นนี้ ในทัศนะของปราชญ์บางท่าน (เช่น นายนลินากฺษ ทัตต) เห็นว่า แม้ในระยะเริ่มแรกแห่งการก่อตั้งและเผยแผ่จะเป็นผลดีแก่พุทธศาสนา แต่ในกาลไกลแล้วเป็นโทษมากกว่าเป็นคุณ เพราะทำให้วัตรปฏิบัติของศาสนิกหย่อนยาน เปิดโอกาสให้ผู้มีทัศนะและความเชื่อถือแปลกแยกเข้าไปปะปนและบ่อนทำลายเอกภาพ






2. การวางตนไม่แทรกแซงยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมทางสังคมของพุทธศาสนา


การวางตนไม่แทรกแซงยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมทางสังคม ของพุทธศาสนา ในระยะเริ่มแรกนั้น เป็นการส่งเสริมให้พุทธศาสนา เจริญแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะประชาชนมีความพอใจที่พุทธศาสนาให้เสรีภาพ ไม่แทรกแซงเปลี่ยนแปลงหรือเลิกล้มจารีตประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติกันมาแต่เดิม พระพุทธองค์เป็นปัญญาชน เป็นนักคิด พระองค์มาจากราชตระกูลที่ดำรงอยู่ในจารีตประเพณี ตลอดจนความเชื่อถือตามระบบของสังคมอันมีพราหมณ์เป็นผู้นำมาแต่โบราณกาล ในฐานะที่เป็นปัญญาชน นักคิด พระองค์ทรงสะท้อนพระทัยเมื่อได้ทอดพระเนตรเห็น “นิมิต ๔” มี คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช อันเป็นเหตุให้พระองค์ทรงโทมนัสถึงกับตัดสินพระทัยออกบรรพชา ทั้งนี้เพื่อทรงค้นหาวิธีที่คนเราจะได้พบอิสระจากการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยเหตุนี้แม้เมื่อทรงบรรพชาแล้ว พระองค์ก็มิได้ทรงข้องเกี่ยวกับความเชื่อถือหรือจารีตประเพณีของสังคม พระองค์ทรงปล่อยให้ความเชื่อถือหรือวัตรปฏิบัตรเหล่านี้เป็นไปตามสภาพเดิม พระองค์ทรงมุ่งมั่นอยู่กับการค้นหา “สัจธรรม” ที่ทำอย่างไรคนเราจะได้ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ ในคำสอนของพระองค์ที่มีปรากฏในพระสูตรต่าง ๆ พระองค์ได้ทรงห้ามมิให้เวไนยยนิกรเสียเวลาถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์หรือคาดคะเนในเรื่องที่ไร้ประโยชน์ ไม่นำไปสู่ความหลุดพ้น (นิพพาน) เช่น ความเห็นที่ยึดเอาที่สุด ๑๐ ประการ (อันตคาหิกทิฏฐิ) ในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย เป็นต้น นายนลินากฺษ ทัตต ปราชญ์ชาวอินเดียผู้รจนาตำราหลายเล่มเกี่ยวกับพุทธศาสนาในอินเดีย ได้เขียนแสดงความเห็นไว้ว่า การวางตนไม่เข้าไปแทรกแซงกิจการทางสังคมของพุทธศาสนาในอินเดียในระยะแรก ๆ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่พระพุทธองค์และสานุศิษย์ผู้ปรีชาญาณของพระองค์ยังดำรงพระชนม์ชีพอยู่นั้น เป็นผลดีแก่การเผยแผ่พุทธศาสนาอย่างแน่นอน แต่เมื่อกาลเวลาล่วงเลยไป และเมื่อไม่มีพระพุทธองค์ตลอดจนสานุศิษย์ผู้ปรีชาญาณเป็นผู้นำและให้แสงสว่าง ลัทธิความเชื่อตลอดจนพิธีกรรมเก่า ๆ ของพราหมณ์ซึ่งมีมาแต่โบราณกาล จึงกลับฟื้นคืนชีพขึ้นอีก


ด้วยเหตุนี้ภายในระยะเวลามิช้ามินานหลังจากพุทธปรินิพพาน และหลังจากอัครสาวกองค์สำคัญ ๆ ผู้เปรื่องปราดได้ล่วงลับไปแล้ว ประชาชนต่างก็เริ่มลืมเลือนสารัตถะแห่งคำสอนของพระพุทธเจ้า และต่างกลับไม่เชื่อถือและประพฤติปฏิบัติตามลัทธิคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่ต่างกลับไปเชื่อถือและประพฤติปฏิบัติตามลัทธิคำสอนของพราหมณ์ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงคัดค้านและต้องการเปลี่ยนแปลงตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ กล่าวโดยย่อก็คือ แก่นแห่งศาสนาพุทธ ได้ถูกกระพี้แห่งศาสนาพราหมณ์ ปกปิด หรือบดบังไว้ อย่างแทบจะมองไม่เห็น โดยเฉพาะจากสามัญชนคนธรรมดา


พฤติการณ์ทำนองเดียวกันนี้ได้เกิดขึ้นในประเทศอื่นที่พุทธศาสนาได้แผ่ไปถึง เช่นในประเทศจีน ทิเบต เนปาล พม่า สยาม ลังกา ญี่ปุ่น ตลอดจนเกาหลี มองโกเลีย และอินโดนีเซีย ในทุกประเทศที่ได้กล่าวนามมานี้ เป็นความจริงที่พุทธศาสนาได้เข้าไปประดิษฐานอยู่เป็นเวลาช้านาน ทั้งได้รับความเทิดทูนสักการะอย่างสูงจากประชาชน แต่ในขณะเดียวกันอิทธิพลของวัฒนธรรม ตลอดจนลัทธิความเชื่อถือ เดิมของท้องถิ่นก็ได้เข้าไปผสมผสานปนเปกับ คำสอนอันแท้จริงของพุทธศาสนา อย่างแทบจะแยกกันไม่ออก


กล่าวโดยย่อก็คือ “ปรมัตถธรรม” ที่พระโคดมพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนไว้ ได้เลือนลางจางหายจนแทบจะสูญความหมาย ในอินเดีย โดยเฉพาะแล้ว ภายในระยะเวลาไม่กี่ร้อยปีหลังจากพุทธศาสนา แม้ในถิ่นที่พุทธศาสนาเคยเจริญรุ่งเรืองที่สุดมาแล้ว เช่นในรัฐพิหาร อุตรประเทศ และเบงกอล ก็ตาม

3. ความตกต่ำทางภูมิปัญญาของสงฆ์


สาเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้พุทธศาสนาเสื่อมอิทธิพลน่าจะได้แก่ ความตกต่ำทางภูมิปัญญาของบุคคลที่เข้ามาเป็นสมาชิกในคณะภิกษุสงฆ์ ตราบใดที่คณะสงฆ์มีสมาชิกที่ทรงความรู้ความสามารถ เป็นประทีปทางปัญญาให้แก่ปวงชน ตราบนั้นพุทธศาสนาก็อยู่ในฐานะสูงส่ง มีราชามหากษัตริย์ตลอดจนประชาชนคนธรรมดาประกาศตน เป็นสมาชิกมากมาย แต่หลังจากพุทธปรินิพพานไม่นานก็ปรากฏตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า ได้มีความหย่อนยานเกิดขึ้นทั้งในทางระดับภูมิปัญญา และในวัตรปฏิบัติของสงฆ์ จนต้องมีการสังคายนากันเป็นระยะ ๆ ตลอดมา


ในอินเดียสมัยโบราณมีการโต้วาที (ศาสตรารฺถ) กันในเรื่องของศาสนาที่เป็นสาธารณะ โดยเปิดให้ประชาชนทุกลัทธิความเชื่อถือเข้าฟังได้ ผลของการโต้วาทีมีอิทธิพลของความเชื่อของคนในยุคนั้นมาก ปรากฏว่าในการโต้วาทีเหล่านั้น ปราชญ์ฝ่ายพราหมณ์-ฮินดู เช่น ท่านกุมาริละ และท่านศังกราจารย์ ได้ชื่อว่าเป็น “ผู้พิชิต” ปราชญ์ฝ่ายพุทธ




4. การปรากฏของลัทธิตันตระ


ลัทธิตันตระเป็นวิวัฒนาการขั้นต่อมาของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งได้กล่าวถึงมาบ้างแล้วในตอนต้น เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ซึ่งเกิดขึ้นมากมายทั่วโลก มีอาทิในประเทศอินเดีย อียิปต์ ประเทศจีนยุคกลาง ในตะวันออกกลาง ยุโรป สหรัฐอเมริกา (ล่าสุดในญี่ปุ่น ได้แก่กรณีโอมชินริเกียว - Aum Shinrikyo ซึ่งได้สร้างความหายนะทั้งในชีวิตและทรัพย์สินแก่ชาวญี่ปุ่นอย่างมหาศาล) ชี้ให้เราเห็นว่า ความเชื่อลัทธิทางศาสนานั้น มีอิทธิพลอย่างมากมายต่อพฤติกรรมในชีวิตของมนุษย์ พิธีกรรมหรือวัตรปฏิบัติ อันเกิดจากความเชื่อทางศาสนามากมายหลายกรณี ซึ่งแรกเริ่มเดิมที เกิดจากเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์อันดีงาม เป็นบุญกุศล แต่พอกาลเวลาล่วงเลยไป กิเลสของคนกลับแปรเปลี่ยนให้พิธีกรรมหรือ วัตรปฏิบัติเหล่านั้น หันเหไปในทางที่เลวทรามต่ำช้าสุดที่จะพรรณา


อุปมาที่กล่าวมานี้ฉันใด อุปไมยก็ได้แก่ลัทธิตันตระ อันเป็น วิวัฒนาการขั้นต่อมาในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน อาจกล่าวได้ว่า ตันตระเป็นลัทธิความเชื่อและวัตรปฏิบัติที่นำ พุทธศาสนาไปสู่ความหายนะขั้นสุดท้ายในประเทศอินเดีย ตันตระประกอบด้วยคำสอนหลัก ๕ ประการ ที่มีชื่อว่า “๕ ม” มี (๑) มัทยะ - เหล้า (๒) มางสะ - เนื้อ (๓) มัตสยะ - ปลา (๔) มุทรา - ท่าทาง (๕) ไมถุน - การเสพสังวาสผู้ที่เชื่อในหลักคำสอนของตันตระจะต้องใช้ “๕ ม” นี้ประกอบ การบูชากราบไหว้ เพียงเท่านี้ก็น่าจะเพียงพอแล้วสำหรับการที่จะเข้าใจว่าตันตระคือ อะไร และทำไมพุทธศาสนาในอินเดียจึงถึงซึ่งกาลอวสานด้วยตันตระ สมองของมนุษย์นั้นว่ากันว่าเป็นเลิศประเสริฐสุดในบรรดาสัตว์ ทุกชนิดที่มีให้เห็นในโลก แต่ประวัติศาสตร์ก็มีนิทัศน์อุทาหรณ์ให้เราต้องยอมรับและเชื่อว่า ก็สมองของมนุษย์นี่แหละที่ได้สร้างความชั่วช้าสามานย์ ตลอดจนความพินาศวอดวายที่เลวร้ายที่สุดให้แก่มนุษย์


ทุกวันนี้ “ตันตระ” ก็ยังมีให้เห็นทั่ว ๆ ไปในโลก (รวมทั้งในเมืองไทยด้วย) อาจจะมีท่านผู้อ่านอยากจะทราบว่าลัทธิตันตระชั่วร้ายอย่างไร ถึงกับทำให้พุทธศาสนาปลาสนาการไปจากอินเดียอันเป็นดินแดนถิ่นที่เกิด ผู้เขียนก็ขอตอบโดยสังเขปที่สุดว่า


ตันตระนั้นหรือคือลัทธิที่สอนให้คนเชื่อในเวทย์มนต์คาถาอาคม การทรงเจ้าเข้าผี ตลอดจนทุกสิ่งทุกอย่างที่รวมอยู่ในไสยศาสตร์ ไสยเวท อันมีกำเนิดจากคัมภีร์อาถรรพเวทของพราหมณ์ และอยู่นอกเหนือวิสัย ของปุถุชนคนธรรมดา


อาจกล่าวได้ว่า ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๘ จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๒ ชาวอินเดียทั้งประเทศซึ่งเดิมเคยนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาพุทธ ต่างก็ตกอยู่ในความครอบงำของลัทธิตันตระอย่างไม่ลืมหูลืมตา ทั้งนี้ไม่เฉพาะแต่สามัญชนคนธรรมดาเท่านั้น หากชนชั้นสูงรวมทั้งชนชั้นผู้ปกครองด้วยก็เช่นเดียวกัน


5. ชาวพุทธถูกรุกรานประหัตประหาร


อิสลามในฐานะเป็นกำลังสำคัญทั้งในทางการเมืองและการศาสนา ได้แผ่เข้าไปในอินเดียทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ โดยเริ่มตั้งแต่ตอนต้น ของคริสต์ศตวรรษที่ ๑๑ และภายในเวลาไม่กี่ร้อยปี ก็สามารถครอบครองดินแดนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกของอินเดียไว้แทบจะทั้งหมด และครองอยู่ได้เป็นเวลาหลายร้อยปีต่อมา


การที่อิสลามเข้าไปมีอำนาจทางอาณาจักรและศาสนจักรในอินเดียเป็นเวลาหลายร้อยปี ทำให้อิทธิพลของวัฒนธรรมอิสลามแผ่กระจาย และคลุมครอบชีวิตของชาวอินเดียอย่างลุ่มลึกและกว้างไกล ซึ่งอิทธิพลนี้ยังมีให้เห็นตราบจนปัจจุบัน โดยเฉพาะในอินเดียภาคเหนือ


ในส่วนที่เกี่ยวกับพุทธศาสนานั้น อาจกล่าวได้ว่า การปรากฏตัวของอิสลามเป็นมรสุมลูกสุดท้ายที่กระหน่ำให้ “พุทธนาวา” ลำนี้ก็อยู่ในสภาพ “ชำรุด” เต็มประดา ด้วยท้องนาวาถูกแมงกะพรุนตันตระกัดกิน เป็นรูรั่วน้ำไหลเข้าได้ จวนเจียนจะพลิกคว่ำอยู่แล้ว แต่ “มรสุม” ลูกสุดท้ายที่ทำให้พุทธศาสนาต้องพังพินาศไปจากแผ่นดินอินเดียนั้น แน่นอน คือ “อิสลาม”


ผู้เขียนขอจบบทความนี้ด้วยการยืมเอาคำพรรณนาของ พระภิกษุ ดร.อานันท์ เกาศัลยายน พระอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทความรู้ภาษาฮินดีให้แก่ผู้เขียนตั้งแต่ชั้น ก ข ค ซึ่งปรากฏในบทเขียนของท่านชื่อ “How India Lost Buddhism?” มาเสนอท่านผู้อ่านดังต่อไปนี้


“ในขณะที่ความเสื่อมทางศีลธรรมและจิตใจกำลังมาสู่ประชาชาติอินเดียดังได้พรรณนามานี้ การแบ่งแยกถือชั้นวรรณะตามศาสนาพราหมณ์ก็กระหน่ำทำให้ชีวิตสังคมอ่อนเปลี้ยลงอย่างที่สุด และในขณะที่ความ “เร้นลับ” ของลัทธิ “ตันตระ” กำลังทำให้สมองของประชาชนหมดสมรรถภาพอยู่นั้น กองทัพอันเกรียงไกรของมุสลิมก็เคลื่อนขบวนมาจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ คล้ายกับมรสุมใหญ่ที่กำลังพัดมาเพื่อทำความสะอาดให้แก่สิ่งโสโครกทั้งหลาย บรรดาโบสถ์วิหารและทรัพย์สมบัติเครื่องบูชาอันมีค่ายวดยิ่ง ซึ่งสะสมกันไว้ตั้งร้อย ๆ ปี ได้ถูกทำลายพินาศลงด้วยน้ำมือของพวกรุกรานมุสลิม ปฏิมาของพระโพธิสัตว์และเทพยดา ทั้งหญิงชาย ได้ถูกเหวี่ยงลงจากแท่นบูชาและเผาผลาญไม่มีเหลือ ไม่มีสิ่งใดเป็นเครื่องศักดิ์สิทธิ์ สำหรับนักรบมุสลิมผู้กระหายอำนาจและทรัพย์สมบัติเหล่านี้ “มนตร์” และพิธีกรรมต่าง ๆ ทางลัทธิ “ตันตระ” ที่เชื่อกันว่า “ขลัง” ยิ่งนักนั้นปรากฏว่าไม่สามารถให้ความคุ้มครองได้ บรรดา “ผู้สำเร็จ” และ “อาจารย์” องค์สำคัญ ๆ ต่างพากันยืนมือเท้างอต่อหน้ากองทัพมุสลิม ในที่สุดขณะที่พวก “ตันตระ”


(บทความโดย กรุณา กุศลาสัย)


http://www.asianamulet.com/content/26/1/




ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า พระพุทธศาสนาไม่ได้สูญสิ้นไปจากประเทศอินเดีย เพราะสิ่งที่พระพุทธศาสนาสร้างขึ้นแล้วในประเทศอินเดีย ก็ยังคงอยู่ในประเทศอินเดีย ในรูปศิลปะ โบราณคดี วัฒนธรรมต่างๆ ที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนในด้านหลักธรรมก็เป็นเครื่องปรับปรุงขัดเกลา และเป็นแบบอย่างที่ทำให้ศาสนาฮินดูซึ่งเจริญ มาถึงปัจจุบันกลายรูปไปในทางที่ประณีตขึ้น เช่น เลิกการบูชายัญ มีหลักศีลธรรมเด่นชัดขึ้น มีหลักปรัชญาที่ลึกซึ้งขึ้นด้วยวิธีดึงเอามาจากพระพุทธศาสนาเท่าที่เป็นประโยชน์แก่ตน ดังนี้ เป็นต้น


(พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตโต), พระพุทธศาสนาในอาเซีย, โรงพิมพ์ธรรมสภา, 2540 (364)

THE EMPTY CROSS OF JESUS



THE EMPTY CROSS: WHY JESUS DIDN'T EXIST COMPLETE DVD PART 1 OF 7



THE EMPTY CROSS: WHY JESUS DIDN'T EXIST COMPLETE DVD PART 2 OF 7



THE EMPTY CROSS: WHY JESUS DIDN'T EXIST COMPLETE DVD PART 3 OF 7



THE EMPTY CROSS: WHY JESUS DIDN'T EXIST COMPLETE DVD PART 4 OF 7



THE EMPTY CROSS: WHY JESUS DIDN'T EXIST COMPLETE DVD PART 5 OF 7



THE EMPTY CROSS: WHY JESUS DIDN'T EXIST COMPLETE DVD PART 6 OF 7



THE EMPTY CROSS: WHY JESUS DIDN'T EXIST COMPLETE DVD PART 7 OF 7

สิ้นศาสนา เข้าสู่กลียุค และยุคพระศรีอาริยเมตไตย


เนื่องด้วย พระเถระองค์นึง ชื่อ พระมาลัยเถระ ชื่ออาจจะซ้ำกับ พระโพธิสัตว์บ้างองค์ หรือ ซ้ำกับพระองค์อื่นๆ ท่านได้เสด็จไปบนสวรรค์ อ่านแล้วอย่าคิดมากนะครับ เป็นเรื่องเล่าต่อมาอีกทีนึง



พระศรีอาริยเมตไตยเสด็จ


อนึ่งเทพบุตรที่เป็นหัวหน้านั้นก็รูปร่างลออตาหาผู้ใดในสามโลกธาตรีมิมีเทียบเทียมได้ รัศมีแห่งวรกายของพระองค์นั้นสว่างไสวไพโรจน์โชติช่วงเป็นยิ่งนักดัง จักกลบรัศมีแห่งเทพยดาเทพนารีทั้งมวล ให้อับแสง แลสว่างไปทั่วทั้งพิภพดาวดึงสา เหล่าเทพยดาที่มาก่อนๆหน้าพากันอับรัศมีมิอาจจะแข่งบารมีได้ดั่งหิ่งห้อยอับ แสงไม่อาจแข่งรัศมีแห่งแสงจันทรา แต่รัศมีแห่งเทพบุตรองค์นี้มิอาจพรรณนาได้ด้วยว่าสว่างไสวมากกว่านับหมื่นนับแสนเท่า



ฝ่ายพระมาลัยเถระแลท้าวสักกบดีครั้นเมื่อเห็นขบวนของเทพบุตรองค์นี้เสด็จมา สมเด็จอัมรินทราธิราชจึงเสวนาการกับพระมาลัยว่า " ดูกรพระเถระ ขบวนที่ กำลังมานั่นคือขบวนของพระบรมโพธิสัตว์ เทพบุตรที่อยู่ตรงกลางรัศมีสว่างไสวไพบูลย์กว่าเทพยดาใดๆคือพระศรีอาริยเมตไตยหน่อพุทธางกูรในอนาคต บรรดา เหล่าเทพบุตรเทพธิดาที่นำหน้าทรงพัสตราอาภรณ์แลเครื่องประดับตลอดจนรัศมีสรีรกายก็ล้วนเป็นสีขาว ด้วยเหตุว่าเขาทั้งหลายในชาติก่อนนั้นครั้นถึงวันอุโบสถก็ พากันนุ่งผ้าขาวห่มผ้าขาว สมาทานศีลแปดอย่างเคร่งครัด ครั้นเวลาทำบุญนั้นวัตถุทานก็ทำด้วยข้าวของสีขาวอันสะอาดตาด้วยว่าใจรักในสีขาวนี้ ส่วนที่มีสีอื่นๆก็ กระทำดุจเดียวกันครั้นเมื่อถึงกาลกิริยาก็ได้มาบังเกิดเป็นบริวารของพระศรีอาริยเตไตย ในสวรรค์ชั้นดุสิต ขอรับพระคุณเจ้า "


ขณะที่พระมาลัยจะไต่ถามพระอินทร์ต่อก็พอดีกับพระศรีอาริยเตไตยได้พาขบวนเทพบริษัทมาถึงลานพระเจดีย์กระทำ ประทักษิณสิ้นสามรอบแล้วเข้าไปถวาย เครื่องสักการบูชานมัสการกราบไหว้เป็นปฐมก่อน แล้วจึงถอยออกมาเพื่อให้เหล่าเทพยดาบริวารพากันเข้าไปนมัสการบ้างตามลำดับ ก็พลันทอดพระเนตรเห็นพระ มาลัยแลท้าวสักกบดีที่ประทับอยู่ตรงมุมพระเจดีย์จึงเสด็จเข้าไปหาเพื่อนมัสการ




ครั้นนมัสการแล้วจึงประทับนั่ง ในฉับพลันอัศจรรย์ก็บังเกิดมีสุวรรณบัลลังก์ปรากฏขึ้นมารองรับในทันที สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตยจึงมีปฏิสันถารกับพระมาลัย ว่า " ดูกรพระคุณเจ้า พระคุณเจ้ามาจากที่ใดขอรับ " พระมาลัยวิสัชนาว่า " ดูกรมหาบพิตร อาตมามาจากชมพูทวีป " เมื่อทราบว่าพระเถระมาจากชมพูทวีปจึงดี พระทัย รับสั่งถามข่าวคราวของมนุษย์ทั้งหลายว่า " ดูกรพระคุณเจ้า ชมพูทวีปขณะนี้พวกมนุษย์พากันทำมาหากินอย่างไรกันบ้างขอรับพระคุณเจ้า "


พระมาลัยจึงวิสัชนาว่า " บางพวกก็ค้าขาย บางพวกก็เข็ญใจไร้ทรัพย์ บางพวกก็ทำการเกษตรกสิกรรม บางพวกก็ทำการประมงหาเลี้ยงชีพที่สุขสบายก็มี ที่เดือด ร้อนทุกข์เข็ญก็มากโข มหาบพิตร " สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตยจึงมีปุจฉาต่อว่า " ดูกรพระคุณเจ้า แล้วส่วนมากพวกเขาทำบุญทำทานการกุศลกันบ้างหรือไม่ หรือ จักทำแต่เรื่องบาปหยาบช้า ขอรับพระคุณเจ้า"




พระมาลัยจึงวิสัชนาว่า " ดูกรมหาบพิตร พวกที่ทำบุญทานการกุศลนั้นมีน้อย ส่วนคนถ่อยบาปหยาบช้ากลับมีมากนับไม่ถ้วน "




ลำดับนั้นสมเด็จพระศรีอาริยเมตไตยใคร่จักทราบถึงวิธีการทำบุญของเหล่าชาวชมพูทวีปจึงขอให้พระมาลัยวิสัชนา พระมาลัยจึงกล่าวว่า " มนุษย์บางพวกก็ให้ ทานรักษาศีล บางพวกก็จัดให้มีพระธรรมเทศนาพร้อมกับป่าวประกาศให้ชาวประชามารับฟัง บ้างก็สร้างวัดวาอารามศาลากุฎี บ้างก็สร้างสถูปเจดีย์แลพระพุทธรูป ไว้ในพระศาสนา บ้างก็ถวายเสนาสนะคิลานเภสัชแด่พระภิกษุสงฆ์ บ้างก็มีเจตจำนงถวายภัตตาหารบิณฑบาตตลอดจนสบงจีวรแด่พระภิกษุ บ้างก็เป็นบุตรกตัญญู เลี้ยงดูบำรุงบิดามารดา บ้างก็สร้างพระคัมภีร์ไตรปิฎก สุดแท้แต่กำลังแห่งทรัพย์แลปัญญาของตน มหาบพิตร "




เมื่อสมเด็จพระศรีอาริยเมตไตยได้ทราบถึงวิธีการทำบุญกุศลของชาวชมพูทวีปแล้วพระองค์จึงถามถึงมโนปนิธานในการทำบุญนั้นว่าหวังผลในมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ หรือนิพพานสมบัติ พระมาลัยตอบว่า " ดูกรมหาบพิตร อันมนุษย์ทั้งหลายที่หมายทำบุญกุศลด้วยมิได้หวังผลในมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ หรือ นิพพานสมบัติแต่อย่างใดกลับมุ่งหมายให้ได้เกิดทันศาสนาของพระองค์ทั้งนั้นเป็นส่วนใหญ่ ที่หมายใจเป็นอย่างอื่นกลับมีน้อยเป็นอย่าง "




เมื่อพระศรีอาริยเมตไตยทรงสดับเช่นนั้นก็มีพระดำรัสตรัสฝากพระมาลัยไว้ว่า "ถ้าพวกเขาเหล่านั้นอยากเกิดทันศาสนาของข้าพระองค์ ก็จงอุตส่าห์ฟังธรรมมหา เวสสันดรชาดกให้จบทั้งหมดในวันเดียว แล้วบูชาด้วยธูปเทียน ดอกไม้อย่างละพันฉัตร อันประกอบด้วยดอกบัวหลวง ดอกบัวเขียว ดอกบัวขาว ดอกสามหาวอย่าง ละพัน ถ้าทำได้ดังนั้นก็จะพบกับศาสนาของข้าพระองค์




เมื่อข้าพระองค์ไปตรัสรู้ผู้นั้นได้ฟังพระธรรมเทสนาก็จะได้บรรลุพระอรหันต์พร้อมด้วยปฏิสัทภิทา ส่วนคนบาปหยาบช้าหนาหนัก เช่นกระทำปิตุฆาต มาตุฆาต ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้า แลทำสังฆเภทให้หมู่สงฆ์เกิดการแตกแยกแตกความคิดไม่สามัคคี ทำลายพระเจดีย์แลพระพุทธรูป ตลอดจนคนที่ตระหนี่ถี่ เหนียวไม่รู้จักทำบุญให้ทาน ไม่รู้กาลเทศว่าบาปบุญคุณโทษ ดำรงตนอยู่ในความประมาท คนพวกนี้มิได้มีโอกาสพบศาสนาของข้าพระองค์เป็นแน่แท้ "




เมื่อพระมาลัยได้ฟังดังนั้นก็กำหนดจดจำไว้ในใจเพื่อว่าจะได้นำไปเทศนาสั่งสอนชาวประชาทั้งหลายให้ได้ปฏิบัติ แต่ยังมีข้อข้องขัดในใจจึงปุจฉาไปดังนี้ " ดูกรมหาบพิตร เมื่อชนทั้งหลายได้รู้ข้อวัตรปฏิบัติอันจะทำให้ได้ไปบังเกิดกำเนิดทันพระศาสนาของพระองค์แล้วไซร้ อาตมาภาพใคร่ขอความกระจ่างว่าเมื่อใดที่ พระองค์จะไปตั้งพระศาสนาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อกาลเวลาใดเล่า มหาบพิตร "




สิ้นพระศาสนาเข้าสู่กลียุค




เมื่อพระศรีอริยเมตไตยได้ฟังปุจฉาของพระมาลัยเถระถามถึงเรื่องการจะมาตรัสรู้ของพระองค์ในอนาคตกาลข้างหน้า จึงมีพระวิสัชนาดำรัสตรัสว่า อีกไม่นานดอกพระคุณเจ้า เมื่อครบถ้วนห้าพันปีสิ้นศาสนาของพระพุทธโคดมแล้ว ครั้งนั้นพวกสัตว์ทั้งหลายจะหน้ามืดตามัวประพฤติชั่วไม่รู้จักทำบุญกุศลสุจริต มีแต่จะคิดกระทำกรรมอันบาปหนาหยาบช้า ขาดหิริโอตตัปปะมิรู้จักละอายต่อ บาปกรรม แม่กับลูกจะอยู่กินด้วยกันเป็นสามีภรรยา พี่สาวกับน้องชาย พี่ชายกับน้องสาว พี่ป้าน้าอาลุงหลานก็จะสมสู่อยู่กินกันเป็นสามีภรรยามิรู้ว่าลูกเขาเมียใคร เมา มัวในกามา ใจบาปหยาบช้าเต็มไปด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลง ประพฤติชั่วนานานัปการอันล่วงละเมิดศีลห้า ด้วยว่ามิมีผู้ใดจะดำรงทรงจำไว้ได้พระ สัจธรรมเสื่อมหาย พระสงฆ์ทั้งหลายคนก็มิรู้จัก ด้วยมักละเมิดพระวินัยบัญญัติตัดนั่นเติมนี่ในที่สุดก็มีความประพฤติดังเช่นฆราวาสผู้ครองเรือน ผ้าเหลืองแปดเปื้อน เป็นมลทินจึงเปลื้องออก ครั้นเมื่อมีกิจทางศาสนาจึงนำมาห่มคลุมเพื่อหากิน




ในที่สุดก็ลืมสื้นในวิธีการครองผ้าจึงฉีกบางส่วนออกมามัดไว้ที่คอ ข้อมือเพื่อหมายให้รู้ว่ามีอาชีพเป็นนักบวช ครั้นนานเข้าก็ขาดเปื่อยไปสิ้นคิดขี้เกียจสรรหามา ใหม่ในที่สุดแล้วไซร้ก็หมดซึ่งสีของผ้ากาสาวพัสตร์ ความชั่วกำเริบหนักหนาอายุของสรรพสัตว์ก็จะลดน้อยถอยลงตราบจนเหลือ ๑๐ ปี เด็กเกิดมาได้เพียง ๕ ปี ก็มี ระดูแต่งงานได้ อาหารทั้งหลายจะถอยถดหมดลงไป


ข้างฝ่ายเทพยดาพากันเอ็นดูหมู่สัตว์มีวิบากทั้งหลายก็จำแลงแปลงกายเป็นคนเสียสติบ้านุ่งผ้าแดงร้องบอกแก่สรรพสัตว์กลางตลาดร้านถิ่นว่าจักเกิดมิคสัญญีว่าวัน นั้นคืนนั้นจะมีการเข่นฆ่ากัน โดยบอกก่อนล่วงหน้าเป็นเวลา ๗ วัน ผู้ใดมีคุณธรรมแลสติปัญญาก็พากันจดจำหลีกหนีไปเสียได้เพียงแต่เล็กน้อย เข้าไปคอยอาศัยอยู่ ในถ้ำภูผากลางป่าเขา เหลือแต่เหล่าพวกหยาบช้าพากันไม่เชื่อถือในคำพูดของเทพยดาก็พากันเยาะเย้ยถากถางเข้ารุมกระทำอันตรายหมายจะเข่นฆ่า เทพยดาเจ้าก็เร้น กายหายวับกลับวิมานอันเป็นสถานที่อยู่แห่งตน



ครั้นเมื่อถึงวันกำหนดคนทั้งหลายพากันหิวกระหายออกหากินเป็นปกติวิสัย ครั้นเห็นหน้ากันไซร้ก็เข้าใจว่าเป็นเนื้อเป็นปลา จับอะไรได้เป็นต้นว่าท่อนไม้ผุก็กลับ กลายเป็นหอกดาบอาวุธศาสตรา เข้าทำการเข่นฆ่าไล่ทิ่มแทงกันจนล้มตายเป็นอันมากเหลือจะประมาณได้กลายเป็นมิคสัญญีกลียุควุ่นวายเป็นหนักหนาจนเข่นฆ่ากัน หมดสิ้น


ข้างฝ่ายพวกที่มีสติปัญญาวิชาความรู้ซ้อนเร้นอยู่ตามเถื่อนถ้ำเงื้อมผาป่าดงลึกสุด ครั้นเมื่อมนุษย์บ้าดีเดือดทั้งหลายฆ่าฟันกันจนหมดสิ้น ก็พากันออกจากที่ซ่อน กำบัง ครั้นมาพบกันเข้าก็ดีใจเหลือกำลังสวมกอดกันเข้าว่าเรานี้หนายังมีสหายรอดตายเหลืออยู่ ต่างก็พากันปรึกษาหารือกันว่า




อันความฉิบหายที่เกิดแก่พวกเราในครั้งนี้ก็เพราะมีความประมาทพลาดพลั้งในกรรมดี มีแต่ก่อบาปหยาบช้าเป็นส่วนใหญ่ แต่นี้ต่อไปในเบื้องหน้าพวกเราจง อุตส่าห์กระทำแต่กรรมดีมีศีลธรรมเว้นจากการฆ่าสัตว์ ประหัตประหารกัน เว้นเสียจากการลักขโมยฉ้อฉลหลอกลวงกัน เว้นเสียจากการผิดลูกผิดเมียไม่มัวเมาในกาเม มิจฉาจารปราศจากการพูดเท็จ งดเว้นจาการพูดคำหยาบช้า ไม่พูดจาส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อ เว้นจากความโลภ ความโกรธ ความหลง ความเห็นที่ผิดจากธรรมนอง คลองธรรม เมื่อคนมีสติปัญญาปรึกษากันแล้ว ก็ตั้งหน้าตั้งตาบำเพ็ญบุญกุศลมีให้ทานรักษาศีลเป็นต้น




ครั้นคนเหล่านี้มีลูกหลานสืบสายตระกูล ลูกก็จะอายุยืนได้ ๓ ปี มีหลานหลานก็อายุยืนขึ้นเป็น ๕ ปี จะเจริญไปดังนี้เป็นลำดับ ตราบเท่าอายุมนุษย์เจริญได้ถึง อสงไขยหนึ่งความแก่แลความตายไม่ปรากฏให้เห็นซึ่งหน้า ครานี้มนุษย์ก็จะมีความประมาทไม่ตั้งมั่นในความดี อายุของเขาเหล่านี้ก็จะเสื่อมถอยลงมาเป็นลำดับดังนี้ เหลือเพียงแปดหมื่นปีครานี้ก็จักเข้าสู่ยุคของข้าพระองค์ ขอรับพระคุณเจ้า "




ยุคพระศรีอารีย์


เมื่อสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ตรัสถึงกลียุคจนถึงมนุษย์อายุเสื่อมถอยน้อยลงมาถึงแปดหมื่นปีแล้วจึงตรัสต่อว่า ครั้นเมื่ออายุมนุษย์ลดน้อยถอยลงได้แปดหมื่นปีตอนนั้นจักมีฝนตกทุกๆ ๑๕ วัน แลส่วนมากนั้นจักตกแต่เพลาใกล้รุ่ง ทำให้มนุษย์มีความชุ่มชื่นใจพื้นดินกว้างใหญ่อุดมสมบูรณ์ แม่น้ำลำคลองมีกระแสน้ำไหลขึ้นข้าง หนึ่งไหลลงข้างหนึ่ง เต็มเปี่ยมเพียบฝั่งไม่มีพร่อง ไม่มีล้นเป็นอยู่อย่างนี้เสมอ ดอกไม้นานาพรรณผลิดอกออกช่อบานสะพรั่งตลอดกาล




บ้านเรือนจะปลูกอยู่ใกล้ๆกันพอไก่บินถึง ปราศจากโจรผู้ร้าย บริบูรณ์ไปด้วยน้ำแลข้าวปลาอาหาร ผัวเมียจะไม่รู้จักวิวาทกัน ผู้ชายไม่ต้องทำไร่นาค้าขาย ผู้หญิงก็ ไม่ต้องทอหูกปั่นฝ้าย ผ้านุ่งผ้าใช้ล้วนแต่เป็นของทิพย์ อำมาตย์ข้าราชการตั้งมั่นอยู่ในความสุจริตธรรม ไม่เบียดเบียนอาณาประชาราษฎร์ให้เดือดร้อน พระมหากษัตริย์จะไม่มีความกริ้วโกรธถือโทษลงพระราชอาญา มีน้ำพระทัยรักใคร่กรุณาแก่ประชาชนทวยราษฎร์


บรรดาสรรพสัตว์ที่เป็นศัตรูกันทั้งหลายเช่นกากับนกเค้า แมวกับหนู งูกับพังพอน หมีกับไม้สะคร้อ ทั้งหมดก็จะแผ่เผื่อเมตตาจิตต่อกันเลิกเป็นคู่เวรคูกรรมต่อกัน สรรพสัตว์อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข เครื่องใช้ไม้สอยมีอุดมสมบูรณ์ทุกอย่าง แผ่นดินใหญ่กว้างล้วนราบเรียบเป็นหน้ากลอง ไม่มีหลักตอเสี้ยนหนาม คนทั้งหลายรูป งามเหมือนกันหมด ไม่มีคนใบ้บ้า คนหูหนวกตาบอดง่อยเปลี้ยเสียขาพิกลพิการก็ไม่มีแต่อย่างใด ทุกคนปราศจากโรคภัยเบียดเบียน เห็นกันเข้าก็มีแต่รักใคร่ไมตรีอันดี ต่อกันหาศัตรูหรือรู้จักโกรธให้กันก็ไม่มี ในครั้งนี้บุรุษจะมีภรรยารักคนเดียว สตรีก็จะมีสามีคนเดียวกลมเกลียวรักใคร่ปองดองกัน ไม่มีการล่วงประเวณี แลคนในยุคนี้ มีแต่ความผาสุขสมบูรณ์มากไม่ต้องลำบากในการหากิน เพียงตั้งภาชนะปิดฝาเอาไว้ครั้นอยากกินสิ่งไรเปิดภาชนะก็ได้กินสิ่งนั้น




ครั้นว่าบริโภคโภชนากระยาหารอิ่มหนำสำราญแล้วอาหารนั้นก็อันตรธานหายไปไม่ต้องเก็บต้องล้าง ข้าวของทุกอย่างใช้สอยแต่เครื่องทิพย์ มีกิจอยู่แต่นั่งกับนอนฟังเสียงอันเป็นทิพย์ไพเราะนักหนาอันเกิดจากเวลาลมพัดต้องหมู่ไม้ใบพฤกษาก็สั่นไหว เป็นเสียงทิพยดนตรีมีความไพเราะเป็นหนักหนา ทุกคนถ้วนหน้ามีสมบัติเหมือนกันหมด ปราศจากกำพร้าอนาถา ปราศจากคนชราหรือเข็ญใจไร้ทรัพย์สมบัติ อันเหตุวิวาทแก่งแย่งชิงเอาบ้านเรือนไร่นาของกันและกันนั้นไม่มีเลย แลยุคนั้นนี้มีพืชข้าวกล้าเพียงเม็ดเดียว หากตกลงเหนือพื้นแผ่นดินแล้วก็งอกขึ้นเป็นต้นเป็นลำเป็นปล้องเป็นหน่อ แลเป็นกอใหญ่ๆออกไปได้หลายร้อยเท่าพันทวี ทั้งหมดเป็นดังนี้ก็เพราะข้าพระองค์ได้สร้างสมบุญบารมีเอาไว้มาก




ในศาสนาของข้าพระองค์ไม่มีคนบ้า คนใบ้ ด้วยเหตุที่ข้าพระองค์ไม่เคยพูดเท็จหลอกลวงใครๆ ไม่มีคนตาบอดเพราะข้าพระองค์มองสมณะ ผู้มีศีลแลยาจกวนิพกเข็ญใจด้วยนัยน์ตาที่เต็มเปี่ยมด้วยความรักใคร่สงสาร ไม่มีคนง่อยเปลี้ยเสียขาเพราะเวลาทำบุญทานข้าพระองค์ยืนตรงเสมอ ไม่มีคนเจ็บไข้ได้ป่วยไร้โรคาพยาธิ์ก็เพราะข้าพระองค์ถวายยาเป็นทานอยู่เสมอเนืองนิจ ไม่มีมารผจญเพราะข้าพระองค์ไม่เคยทำให้คนหรือสัตว์นั้นตกใจ ในศาสนาของข้าพระองค์ไม่มีใครขี้ริ้วขี้เหร่ มีแต่คนรูปงามเพราะยามข้าพระองค์ให้ทานให้แต่ของอันเป็นที่รักแก่ยาจกวนิพกตลอดจนสมณพราหมณ์เสมอ




ในศาสนาของข้าพระองค์ทุกคนได้ไปสวรรค์ทุกคนเพราะข้าพระองค์ให้ช้างม้าราชรถยวดยานพาหนะเป็นทาน ในศาสนาของข้าพระองค์นั้นแผ่นดินราบเรียบเสมอกันหมดเพราะข้าพระองค์แผ่เมตตาจิตไปยังสรรพสัตว์เสมอ คนในศาสนาของข้าพระองค์มั่นคงสมบูรณ์ด้วยทัพย์สินโภคาเพราะเหตุว่าข้าพระองค์ให้ทานแก่ผู้ยากไร้เข็ญใจด้วยทรัพย์สิ่งของเงินทองตามที่ เขาปรารถนาอยู่เนืองนิตย์โดยทั่วถึง




ข้าแต่พระคุณเจ้า ข้าพระองค์บำเพ็ญบารมีมาช้านานถึง ๑๖ อสงไขยแสนกัป บารมี ๓๐ ทัศนั้นก็ได้บำเพ็ญมาอย่างพร้อมมูลแล้ว ข้าพระองค์จะลงไปเกิดในโลกมนุษย์ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเพื่อโปรดสัตว์ทั้งหลาย โดยจะเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาลอันบริบูรณ์ด้วยสมบัติ พระบิดานั้นทรงพระนามว่า สุพรหมพราหมณ์




เป็นปุโรหิตของพระเจ้าสังขจักรพรรดิราช พระมารดานั้นทรงพระนามว่า เหมวดีพราหมณี พระอัครสาวกเบื้องขวามีนามว่า พระอโสกเถระ พระอัครสาวกเบื้องซ้ายมีนามว่า พระสุพรหมเถระ พระอัครสาวิกาเบื้องขวามีนามว่า พระปทุมาเถรี พระอัครสาวิกาเบื้องซ้ายมีนามว่า พระสุมนาเถรี อุบาสกพุทธอุปัฏฐากมีนามว่า สุทัตตคหบดีคนหนึ่ง แลนามว่า สังฆหบดีคนหนึ่ง อุบาสิกาพุทธอุปัฏฐากมีนามว่า ยสปวดีอุบาสิกาคนหนึ่ง แลนามว่า สังฆอุบาสิกาคนหนึ่ง




มีไม้กากะทิงเป็นไม้ที่ตรัสรู้ ขนาดลำต้นจากพื้นไปถึงคาคบ ๑๒๐ ศอก จากคาคบไปถึงยอด ๑๒๐ ศอก รวมจากพื้นถึงยอดปลายสุด ๒๔๐ ศอก ไม้นี้มีกิ่งใหญ่ ๔ กิ่งทอดออกไปในทิศทั้ง ๔ มีความยาวกิ่งละ ๑๒๐ ศอก มีดอกเท่ากงล้อรถแต่ละดอกมีเกสรได้ทันานหนึ่ง มีกลิ่นหอมฟุ้งขจรไปไกลถึง ๕๐๐ โยชน์




ตอนที่ข้าพระองค์ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านั้นมีพระวรกายสูงได้ ๘๘ ศอก จากพื้นพระบาทถึงพระชานุ ๒๒ ศอก จากพระชานุถึงพระนาภี ๒๒ ศอก จากพระนาภีถึงพระรากขวัญ ๒๒ ศอก จากพระรากขวัญถึงพระอุณหิส ๒๒ ศอก พระชนมายุได้แปดหมื่นปีจึงปรินิพพาน ศาสนาของข้าพระองค์นั้นยืนยาวได้ ๘,๐๐๐ ปีจึงหมดสิ้นขอรับพระคุณเจ้า"


กาลที่พระศรีอาริยเมตไตยจะลงมาโปรดสัตว์

เมื่อพระมาลัยเถระได้สดับคำวิสัชนาของพระมหาโพธิสัตว์ตรัสถึงชีวิตความเป็นอยู่ในยุคสมัยของพระองค์แล้วก็ มีใจสงสัยด้วยว่ายังไม่กำหนดกาลเวลาว่าจะลงมาโปรดสัตว์เมื่อใด จึงปุจฉาไปดังนี้ว่า ดูกรมหาบพิตร อาตมภาพได้สดับตามที่พระองค์ทรงเล่ามายังกำหนดไม่ได้ว่าพระองค์จะลงไปโปรดมนุษย์เมื่อใด




สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตยจึงตอบไปดังนี้ว่า " ดูกรพระคุณเจ้า ก็ตอนที่ข้าวสาลีเม็ดเดียวบังเกิดเป็นข้าวสารร้อยเจ็ดสิบเม็ด จุเต็มสองเล่มเกวียนกับสิบหกสัดใหญ่ ๆ เท่ากับสองกระบุงเมื่อใด ก็เมื่อนั้นแลพระคุณเจ้าที่ข้าพระองค์จะลงไปเกิดในโลกมนุษย์ โดยครั้งแรกจะเป็นมนุษย์ธรรมดาก่อน




กระทำสัตตสดกมหาทานบริจาคลูกเมียเป็นทานเหมือนพระเวสสันดรก่อน แล้วจะกลับขึ้นมาเกิดบนสวรรค์ชั้นดุสิตสิ้นระยะหนึ่ง จนถึงเมื่อสัตว์ทั้งหลายมีอายุไขยน้อยลงไปจากอสงไขยเหลือเพียงแปดหมื่นปี ชมพูทวีปนี้กลับบริบูรณ์มีเม็ดข้าวสาลีเพียงเม็ดเดียวแต่ให้ผลมากมายดังก่อน ก็ตอนนั้นแลข้าพระองค์จะลงไปบังเกิดในโลกมนุษย์อีกครั้งหนึ่งเพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า โดยเหล่าเทพยดาในหมื่นจักรวาลมีท้าวมหาพรหมเป็น ประธานมาอัญเชิญให้ไปจุติ




***การกระทำสัตตสดกมหาทาน คือการบริจาคสิ่งของเป็นทานเจ็ดอย่าง อย่างละ ๗๐๐ มี






๑. ช้าง ๗๐๐ ตัว ๒. ม้าอาชาไนย ๗๐๐ ตัว ๓. โคนม ๗๐๐ ตัว ๔. ทาสหญิง ๗๐๐ คน ๕. ทาสชาย ๗๐๐ คน ๖. ราชรถ ๗๐๐ คัน ๗. นางสนม(หญิงผู้ดีมีสกุล) ๗๐๐ นาง




อ่านว่า สัต-ตะ-สะ-ดก-มะ-หา-ทาน มาจากคำว่า สัตตะที่แปลว่า เจ็ด สดก มาจากคำว่า สตกะ ที่แปลว่า ๑๐๐ อีกคำหนึ่งอ่านว่า ปิ-ยะ-ปุต-ตะ-ทา-ระ-ทาน ปิยะแปลว่า ผู้เป็นที่รัก ปุตตะ แปลว่า ลูก ทาระ แปลว่าเมีย***




เมื่อข้าพระองค์นี้ได้สดับรับฟังคำอัญเชิญของเทพยดาทั้งหลาย ก็จะใช้ทิพยญาณเล็งเห็นโลกด้วยเหตุห้าประการ คือ กาลอันเหมาะสม ๑ ประเทศที่เหมาะสม ๑ ทวีที่เหมาะสม ๑ ตระกูลมารดาที่เหมาะสม ๑ แลสัตว์ทั้งหลายอีก ๑ ตามเยี่ยงอย่างพระบรมโพธิสัตว์แต่ก่อนมาพิจารณาตามธรรมเนียมประเพณีก่อนที่จะมาจุติ ด้วยที่พิจารณาดูกาลอายุสัตว์ในครั้งนั้นว่าไม่มากกว่าแสนปีขึ้นไป ไม่น้อยกว่าร้อยปีลงมา เพราะถ้าสัตว์มีอายุมากกว่าแสนปี ก็ความแก่ความตายนี้จะไม่ค่อยบังเกิด ปรากฏให้เห็น สรรพสัตว์ฟังพระธรรมเทศนาแล้วไม่เห็นว่าสังขารเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแต่อย่างใดก็จะไม่เชื่อถือในพระสัจธรรม มรรคผลก็จะไม่บังเกิดขึ้น พระธรรมเทศนาก็จะไร้ประโยชน์




อีกประการหนึ่งถ้าสัตว์อายุน้อยกว่าร้อยปีลงมาก็หาเป็นการสมควรที่พระพุทธเจ้าจะลงไปตรัสรู้ไม่ เพราะสรรพสัตว์ทั้งหลายพวกนี้ยังมีกิเลสหนากล้านักจักรับ โอวาทเพียงต่อหน้าลับหลังมาก็จะพากันละทิ้งเสียไม่ผิดอะไรกับขีดรอยในน้ำก็จะกลับคืนดังเก่า ดังนั้นเล่ากาลที่เหมาะสมสำหรับการไปตรัสรู้จึงอยู่ในระหว่างแสนปี ลงมาและมากกว่าร้อยปีขึ้นไป




ประการที่สองก็คือพิจารณาทวีปใหญ่ทั้งสี่มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวารนั้นก็เห็นว่าโดยพุทธประเพณีอันพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะมีพระประสูติกาลทุกพระองค์ นั้นจะไปบังเกิดในชมพูทวีปแห่งเดียวอันเป็นมัชฌิมประเทศที่ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอสีติมหาสาวก พระเจ้าจักรพรรดิราช แลชนผู้มีบุญญาธิการ มากมักลงมาเกิดเป็นส่วนมาก




ประการที่สามพิจารณาประเทศอันเป็นสถานที่กำเนิด ในครั้งนั้นกรุงพาราณสีจะมีชื่อนครว่ามัณฑารนคร กว้างใหญ่ได้สิบสองโยชน์พวกมนุษย์ถอยถดอายุ จากอสงไขยด้วยความประมาทเหลือเพียงแปดหมื่นปี แลกรุงมัณฑารนี้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น เกตุมบดีนคร จักบริบูรณ์สถาพรด้วยวัตถุสิ่งของทั้งปวง จึงควรที่จะบังเกิดในกรุงเกตุมบดีนครนี้




ประการที่สี่พิจารณาถึงตระกูลอันสมควรตามประเพณีที่สมเด็จพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไปบังเกิดในตระกูลอันชาวโลกนับถือ คือตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ตามที่เคยมีมา ก็ตอนนั้นแลถือกันว่าตระกูลพราหมณ์ประเสริฐเลิศที่สุด จึงสมควรที่จะลงไปบังเกิดในตระกูลพราหมณ์ซึ่งเป็นปุโรหิตผู้ใหญ่ของพระเจ้าสังขจักร

ประการที่ห้าสุดท้ายพิจารณาว่าผู้ใดควรจะเป็นพุทธบิดาพุทธมารดาที่บำเพ็ญบารมีนับเนื่องกัน ก็รู้ว่าสุพรหมพราหมณ์นั้นควรเป็นพุทธมารดา นางเหมวดี พราหมณีควรที่จะเป็นพุทธมารดา ขอรับพระคุณเจ้า ส่วนนางอนุลาเทวีเป็นคู่สร้างบารมีของข้าพระองค์จะได้เป็นอัครมเหสีมีนามว่า นางจันทมุขี โอรสคือเจ้าสาลี พระโอรสแห่งพระเจ้าอภัยทุฏฐคามินีสร้างบารมีร่วมกันมาจะได้เป็นโอรสมีนามว่า พรหมวดีกุมาร




กาลที่ข้าพระองค์จะออกผนวชนั้นจะมีเทวฑูตสำแดงบุพนิมิต ๔ ประการ คือคนแก่ คนเจ็บ คนตาย แลนักบวช ปราสาทที่อยู่ของข้าพระองค์จักลอยไปกลางอากาศ เมื่อข้าพระองค์ผนวชแล้วบำเพ็ญเพียรประมาณเจ็ดวันตกวันที่เจ็ดจะไปนั่งที่ควงไม้กากะทิงแล้วได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อโปรดสัตว์ ขอรับพระคุณเจ้า "


ครั้นพระบรมโพธิสัตว์ตรัสมาถึงตรงนี้ก็มีพระราชดำรัสอันเป็นปัจฉิมสมัยว่า " ข้าแต่พระคุณเจ้า ครั้นเมื่อกลับไปยังโลกมนุษย์แล้วจงบอกแก่ชาวชมพูทวีปด้วยว่า อย่าได้สร้างเวรทั้งห้า คืออย่าฆ่าสัตว์ตัดชีวิต อย่าคิดหรือลักขโมยข้าวของเงินทอง อย่าล่วงหรือปองผิดประเวณีลูกเมียผู้อื่น อย่าได้ฝืนกล่าวลวงโป้ปดมดเท็จ อย่าได้ เสพสุราเมรัย ให้สมาทานในพระอุโบสถศีล ละเว้นอนันตริยกรรมทั้งห้าประการ ให้หมั่นสร้างกุศลผลทานแล้วจะได้พบพานศาสนาของข้าดังประสงค์ ขอพระคุณ เจ้าจงสั่งสอนเขาดังนี้ตามที่ข้าพระองค์บอกเอาไว้เถิด ขอรับพระคุณเจ้า "

ครั้นเมื่อสั่งเสร็จองค์สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ก็นมัสการลาพระเถระ ลุกขึ้นกระทำอภิวาทประทักษิณพระเจดีจุฬามณีเจดีย์แล้วเสด็จกลับพร้อมด้วยเหล่าบริวาร เหาะลอยผ่านท้องฟ้าขึ้นสู่นภากาศตรงไปยังดุสิตพิภพอันเป็นที่อยู่ของพระองค์ ส่วนพระมาลัยก็ถวายพระพรลาพระอินทราธิราช ถวายอภิวาทนมัสการ พระเจดีย์จุฬามณีกระทำประทักษิณสิ้นสามรอบแล้วจึงกลับลงมาสู่โลกมนุษย์ดังเดิม




ครั้นเมื่อวันต่อมาเวลาพระเถระออกโปรดสัตว์รับบิณฑบาตชาวบ้านกัมโพชคามตามปกติ ก็สั่งสอนชาวบุรีทั้งหลายตามที่ได้รับมอบหมายมาจาก พระศรีอาริยเมตไตย ฝ่ายมหาชนทั้งหลายครั้รได้ฟังคำบอกเล่าของพระเถระก็ตั้งหน้ามุ่งมั่นในการทำบุญกุศลมากขึ้นเป็นทวีคูณ ครั้นสิ้นบุญก็ได้ไปกำเนิดในสวรรค์โดยทั่วกันแล